ภาคภูมิ น้อยวัฒน์... เรื่องและภาพ
|
ประติมากรรมยักษ์ศิลปกรรมทวารวดีจากวัดพระงาม |
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา นายอิทธิพล
คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการถาวร ณ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม
และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี โดยมีนายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม
นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี นายกิตติพันธ์ พานสุวรรณ อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม
และข้าราชการ เจ้าหน้าที่ กรมศิลปากร เข้าร่วมในพิธี
|
โบราณวัตถุได้รับการจัดวางและสาดแสงอย่างสวยงาม |
|
รมต. กระทรวงวัฒนธรรมตัดริบบิ้นเปิดนิทรรศการ |
|
รมต. กระทรวงวัฒนธรรม เยี่ยมชมโบราณวัตถุภายในพิพิธภัณฑ์ |
|
ประติมากรรมสิงห์ ศิลปกรรมทวารวดี |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระปฐมเจดีย์เป็นสถานที่เก็บรักษาและจัดแสดงโบราณวัตถุที่พบจากเมืองโบราณนครปฐม
นครโบราณสมัยทวารวดีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีพัฒนากรอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่
๑๑-๑๖
ทางพิพิธภัณฑ์ได้ปรับปรุงการจัดแสดงนิทรรศการถาวรภายในให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
ด้วยการจัดวางและจัดแสงสว่างสาดส่องโบราณวัตถุรวมทั้งการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบใหม่ โดยจัดแบ่งเป็นหัวข้อเรียงตามลำดับพัฒนาการของเมืองนครปฐม
คือ เรื่องราวตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยทวาราวดีผ่านโบราณวัตถุ
เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์จากจารึกสำคัญที่พบในเมืองนครปฐม
สภาพภูมิศาสตร์ของเมืองนครปฐมโดยสังเขป
ศาสนาและความเชื่อของชาวทวารวดีในนครปฐมจากโบราณวัตถุที่ค้นพบ
|
อาคารจัดแสดงที่สร้างขึ้นใหม่ |
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี
ได้มีการจัดสร้างอาคารจัดแสดงหลังใหม่ขึ้นบนพื้นที่อาคารหลังเดิม ภายใต้แนวคิด
“โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์แห่งภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย” สถาปัตยกรรมทรงสี่เหลี่ยมสีดินเทศที่ได้รับแรงบันดาลใจจากหลุมขุดค้นทางโบราณคดี
ภายในนจัดนิทรรศการถาวรที่ออกแบบในส่วนของเนื้อหาและการจัดแสดงใหม่ทั้งหมด
เน้นการนำเสนอให้เข้าใจง่ายและน่าสนใจ
ภายในอาคาร ๓ ชั้น จัดแบ่งนิทรรศการเป็นหัวข้อ ชั้นแรกเป็นการนำเสนอเรื่องราวการค้นพบเครื่องมือหิน
๘ ชิ้น โดยนักโบราณคดีที่มาเป็นเชลยศึกก่อสร้างทางรถไฟ
อันนำมาสู่การขุดค้นแหล่งโบราณคดีบ้านเก่าอย่างเป็นทางการในเวลาต่อมา
พัฒนาการความเป็นอยู่ของผู้คนก่อนประวัติศาสตร์ที่บ้านเก่า
ซึ่งใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียในการนำเสนอให้น่าสนใจ
|
ห้องฉายภาพยนตร์แบบพานอรามา เหตุการณ์ค้นพบเครื่องมือหินในครั้งแรก |
|
ห้องจำลองบรรยากาศแสดงความเป็นอยู่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ |
ทางเดินซึ่งเป็นทางลาดและบนผนังเป็นเรื่องราวไทม์ไลน์ของกาลเวลาตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์ต่อเนื่องขึ้นมายังชั้นที่สองที่เป็นการจัดแสดงโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ค้นพบจากการดำเนินงานด้านโบราณคดีในจังหวัดกาญจนบุรีในพื้นที่ใกล้เคียง
เช่น เครื่องประดับ เครื่องมือหินกระเทาะ หินขัด หม้อและภาชนะดินเผา โครงกระดูก พร้อมทั้งการจัดแสดงหุ่นจำลองวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในรูปแบบของตุ๊กตา
|
หุ่นจำลองวิถีความเป็นอยู่ของผุ้คนสมัยโบราณ |
ทางลาดนำขึ้นสู่ชั้นที่สามที่จัดแสดงโบราณวัตถุในยุคสมัยต่อมาคือสมัยโลหะ
เช่น ขวานสำริด กำไลข้อมือสำริด จำลองหลุมศพที่ขุดค้นพบข้าวของเครื่องใช้ฝังอยู่กับโครงกระดูก
ห้องถัดไปจัดแสดงโลงศพไม้ขนาดใหญ่ที่ขุดขึ้นจากต้นไม้ทั้งต้น และปิดท้ายด้วยห้องจัดแสดงโบราณวัตถุในสมัยประวัติศาสตร์ที่ค้นพบจากปราสาทเมืองสิงห์
|
กำไลสำริด |
|
โลงไม้ขุดโบราณ |
|
โบราณวัตถุจากปราสาทเมืองสิงห์ |
|
พระพิมพ์ |
ในบริเวณใกล้กับพิพิธภัณฑ์ยังมีหลุมขุดค้นทางโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะซึ่งมีอยู่หลายหลุม
ภายในขุดพบโครงกระดูกสมัยก่อนประวัติศาสตร์จำนวนมาก บางหลุมเป็นโครงกระดูกของเด็ก
ซึ่งทางกรมศิลปากรยังคงดำเนินการขุดค้นอย่างต่อเนื่อง
|
การขุดค้นในหลุมโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ |