Wednesday, August 30, 2017

การเสวนาสร้างความเข้าใจนโยบายการแก้ไขปัญหาและสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้




ภาคภูมิ น้อยวัฒน์...เรื่องและภาพ
          
          "เสวนาสร้างความเข้าใจนโยบายการแก้ไขปัญหาและสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้”  จัดโดยสำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์   กรมประชาสัมพันธ์ ณ ห้องประชุมนราทัศน์ ๒  โรงแรมอิมพีเรียล อำเภอเมือง ฯ จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันพุธที่ ๙ สิงหาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา
            
          นางอรวิน บุตรวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนการประชาสัมพันธ์ สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ กล่าวต้อนรับสื่อมวลชนสาขาต่าง ๆ จากส่วนกลาง ก่อนจะเริ่มการเสวนาโดยได้รับเกียรติจากนายไกรศร วิสิษฎ์วงศ์ รองเลขาธิการ ศอบต. พันเอกยุทธนาม เพชรม่วง หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า และนายอาหะมะ ลีเฮ็ง คณะทำงานเครือข่ายการการแก้ไขปัญหาที่ดินบูโด-สุไหงปาดีเข้าร่วมเป็นวิทยากรในการเสวนา โดยมีนางสุนิสา รามแก้ว รับหน้าที่พิธีกรดำเนินรายการ รายละเอียดในการเสวนามีดังต่อไปนี้  


 พิธีกร: ดิฉันได้รับหน้าที่เป็นพิธีกรนำเสวนานะคะ ซึ่งประเด็นเรื่องราวที่จะมีการพูดคุยเสวนาในวันนี้ ก็เป็นเรื่องที่พี่น้องสื่อมวลชนจากส่วนกลางอยากจะรับทราบเวลาลงพื้นที่ ว่าสถานการณ์พื้นที่เป็นอย่างไร แนวทางการแก้ปัญหาของภาครัฐ มีมาตรการเป็นอย่างไร แล้วส่วนของภาคประชาชนเอง พี่น้องภาคส่วนสังคมจะมีส่วนขับเคลื่อนอย่างไรในการแก้ไขปัญหา  

วันนี้นะคะเราก็จะได้นำเรียนทุกท่าน ซึ่งก็จะได้พูดคุยถึงประเด็นปัญหา อย่างที่บอกไปว่าสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยืดเยื้อมาตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ตั้งแต่วันที่เสียงปืนดัง ว่ากันอย่างนี้นะคะ มกราคม ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบันนี้ก็ ๑๓ ปี  การแก้ปัญหาทุกภาคส่วนจากภาคต่าง ๆในการแก้ปัญหาและด้านความเข้าใจกับพี่น้องประชาชนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนและคืนสู่ความสันติสุขในพื้นที่ค่ะ

 เช่นเดียวกันนะคะ ท่านวิทยากรที่จะมาร่วมพูดคุยกับเรากับพี่น้องสื่อมวลชนในวันนี้ โดยเฉพาะที่มาจากทางภาคราชการนั้น ทั้งสองท่านเป็นผู้นำ เป็นเจ้าหน้าที่ในองค์กรที่มีส่วนสำคัญกับการขับเคลื่อน การแก้ปัญหา และพัฒนาปัญหาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งสิ้น  

ท่านแรกค่ะขอแนะนำให้รู้จักนะคะ ท่านเป็นหัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในทรัพย์สินส่วนหน้า และที่สำคัญนะคะท่านเป็นรองโฆษกของ กอ.รมน. ภาคทรัพย์สินส่วนหน้า ปัญหาทุกอย่าง แนวทางนโยบายทั้งหมดของกองอำนวยการรักษาความปลอดภัยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในทรัพย์สินส่วนหน้า และการแก้ปัญหาในพื้นที่เป็นอย่างไร เรื่องของความมั่นคง ความรู้ทั้งหมด ทุกท่านจะได้ทราบเรื่องจากท่านอย่างแน่นอนนะคะ

ตัวท่านเองนะคะ ตำแหน่งปัจจุบันของท่านค่ะ ท่านเป็นรองผู้บังคับการกรมทหารราบที่ เป็นหัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในทรัพย์สินส่วนหน้านะคะ และท่านสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อย จปร. นะคะ ปัจจุบันนี้นะคะ ในอดีตที่ผ่านมาท่านเป็นผู้การกรมทหารพรานที่ ๔๗ เป็นผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจในพื้นที่ ทำงานในจังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่เริ่มรับราชการจนถึงปัจจุบันนะคะ ปัญหาในพื้นที่นะคะ แนวทางการดำเนินการจะเกิดการแก้ปัญหาอย่างไร ท่านมีความรู้ให้พี่น้องสื่อมวลชนอย่างแน่นอน ขอเสียงปรบมืออีกครั้งกับท่านยุทธนาม เพชรม่วง วันนี้ท่านไม่ได้มาพูดแค่เป็นรองโฆษกหรือว่าหัวหน้าเท่านั้น แต่ท่านจะมาพูดในนามของการดำเนินการ กอ.รมน. ทั้งหมดค่ะ

ส่วนอีกท่านนึงนะคะ ท่านเองก็คร่ำหวอดในการทำงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างยาวนานเหมือนกัน ท่านเคยเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัดอยู่ที่นราธิวาส และอยู่ที่ยะลา ปัตตานี ด้วยนะคะ และเข้ามาเป็นรองเลขาธิการ สอบต. ก่อนหน้าที่คือไปช่วยงานอยู่ที่ กอรมน. ภาค ๑๐ ส่วนหน้าและเป็นผู้อำนวยการสำนัก สพน. นะคะ  ในเรื่องของการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาหรือการพัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ ท่านมีความรู้ความสามารถเป็นอย่างยิ่ง  ตำแหน่งปัจจุบันของท่านเป็นรองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารชายแดนภาคใต้  ขอเสียงปรบมือต้อนรับท่านไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ท่านเป็นทั้งนักพูดและนักพัฒนาด้วยนะคะ วันนี้ทุกท่านจะได้รับความรู้จากท่านอย่างแน่นอนนะคะ

ส่วนอีกท่านนึงเค้าเรียกว่าเป็นนักขับเคลื่อนนะคะ ในเรื่องของการวิชามาร่วมกัน เปรียบเสมือนเป็นตัวแทนของพี่น้องประชาชน  ก็จะมาร่วมแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ของพวกเรา  และที่ผ่านมาท่านเองมีส่วนสำคัญค่ะ กับโครงการบูโดสุไหงปาดี  ซึ่งหลายท่านคงได้ยินข่าว ว่าปัญหาโครงการบูโดสุไหงปาดีเนี่ยยืดเยื้อมาอย่างยาวนานหลายสิบปีนะคะ จนปัจจุบันนี้ได้มีมาตรการช่วยเหลือจากทางราชการ ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันนะคะพี่น้องประชาชนที่ทำมาหากินอยู่บนที่ดินบูโดสุไหงปาดีตอนนี้ก็มีโฉนดที่ดินกันแล้วนะคะ มีที่ทำกินเป็นของตัวเอง ก็เพราะท่านเนี้ยแหละค่ะ ช่วยในการขับเคลื่อน  ขอเสียงปรบมือตอนรับคุณอาหามะ ลีเฮงอีกครั้งนึงค่ะ  

วันนี้นะคะทั้งสามท่านจะได้มาร่วมพูดคุยการเสวนาในเรื่องของการสร้างความเข้าใจ นโยบายการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ แน่นอนที่สุดค่ะทุกท่าน ถ้าพูดถึงเรื่องของแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้นหน่วยงานที่สำคัญต่อการแก้ปัญหาคงจะหนีไม่พ้นในส่วนของ กอ.รมน. ทรัพย์สินส่วนหน้า หากเกิดเหตุการณ์หรือสถานการณ์รุนแรงเกิดขึ้น กอ.รมน. ทรัพย์สินส่วนหน้าก็จะออกมาพูดคุยถึงแนวทางแก้ไขปัญหา การแก้ไขสถานการณ์ต่างๆนะคะ

และวันนี้ค่ะก็จะต้องให้พลเอกยุทธนาม เพชรม่วงนะคะซึ่งท่านมาในตัวนามของตัวแทน กอ.รมน. ทรัพย์สินส่วนหน้า ได้พูดถึงแนวทางในเรื่องของการขับเคลื่อนงานการแก้ปัญหาความไม่สงบของพื้นที่โดยเฉพาะในมิติของความมั่นคง ว่า กอ.รมน. ทรัพย์สินส่วนหน้าเนี้ยมีแนวทางอย่างไร มีนโยบายอย่างไรที่ไปยุติการสร้างสถานการณ์ในพื้นที่ และทำอย่างไรให้ชายแดนภาคใต้กลับสู่สันติสุข ขอเรียนเชิญค่ะ

 พันเอกยุทธนาม เพชรม่วง หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ส่วนหน้า

            พลเอกยุทธนาม เพชรม่วง
: สวัสดีพี่น้องสื่อมวลชนนะครับและก็เรียนอาจารย์ของผมนะครับ ในเรื่องของงานด้านการพัฒนา ตลอดจนเรื่องแนวทางของการแก้ปัญหาของ กอ.รมน. ของเรานะครับ ซึ่งพี่น้องสื่อมวลชนเป็นผู้ที่สัมผัสงานเรื่องต่าง ๆ ในมุมกว้างและในการที่เราจะมานั่งคุยกันเราก็ต้องทำให้เกิดประโยชน์นะครับ สิ่งที่สำคัญก็คือว่าในปัจจุบันนี้ มันมีโลกของโซเชียลเน็ตเวิร์กเข้ามา ก่อให้เกิดกระแสในสังคมเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นกิจกรรมในวันนี้มีความสำคัญมากครับ กิจกรรมที่จะทำให้พี่น้องสื่อมวลชนได้ทราบถึงข้อเท็จจริงหรือประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่

ในสมัยสงครามเวียดนาม อเมริกันนี่ไม่ได้แพ้สงคราม อเมริกันมีรถถัง มีเครื่องบินเยอะแยะมากมาย แต่สื่อที่วิ่งเข้าไปในบ้านของชาวอเมริกันทุกคน บอกว่าทหารมีการสูญเสียและบาดเจ็บ จนเกิดกระแส กระทั่งพี่น้องชาวอเมริกันประท้วงและถอนทหารออก แทบจะเป็นจุดพลิกของสงครามหรือภาพก่อนสงครามเย็นก็ว่าได้ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าสื่อมวลชนนั้นมีความสำคัญนะครับเป็นอันดับแรก กิจกรรมในวันนี้ผมจึงรู้สึกตื่นเต้น และรู้สึกเป็นเกียรติ ที่ได้มาร่วมงานที่เราจะได้มาสร้างความเข้าใจร่วมกัน

คำถามที่คุณผึ้งได้กล่าวไว้ผมอาจจะไม่ได้เป็นผู้รู้ทั้งหมด เพียงแต่ว่าโดยที่ผ่านมาโดยการเป็นรองโฆษก ฯ มันจำเป็นจะต้องศึกษาให้ทราบถึงการปฏิบัติงานของพื้นที่ภาคส่วน เพื่อที่จะได้สร้างความรู้แก่ประชาชน

แนวทางในการดำเนินการของกองอำนวยการรักษาทรัพย์สินส่วนหน้านั้นนะครับ เป็นเรื่องมิติของความมั่นคง มิติของโครงงานที่ ๑ เรื่องการสร้างความปลอดภัยให้ชีวิตและทรัพย์สินแทบจะเป็นหลักครับ เราทำทั้งหมดร่วมกันทั้ง ๓ ขา ไม่ว่าจะเป็นทาง สวท. สจต. หรือทั้งภาคประชาชน เราทำร่วมกันนะครับ โครงการที่กองอำนวยการรักษาทรัพย์สินส่วนหน้าทำนั้น ก็คงจะยึดมั่นในงานกองอำนวยการรักษาความมั่นคงใหญ่หรือรัฐบาล ซึ่งมีท่านนายกฯ เป็นผู้อำนวยการ และมีรัฐมนตรีเป็นรองผู้อำนวยการ

ในเรื่องของความมั่นคงนั้นนะครับ เราคิดยังไงก็ได้ ให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยทั้งของประชาชน ซึ่งท่านคิดดี ๆ นะครับว่าเราพัฒนาอะไรก็แล้วแต่ ถ้าเกิดยังมีความไม่ปลอดภัยเนี่ย มันก็จะส่งผลต่อการทำงานของทุกกลุ่มงานที่เกี่ยวข้อง แต่ทำงานในด้านความมั่นคงและปลอดภัยนั่นนะครับ ทางกองอำนวยการรักษาทรัพย์สินส่วนหน้านี่ นอกจากจะยึดถือนโยบายรัฐบาลในการทำงานแล้ว  ผู้บังคับบัญชาทุกชนชั้นของเราไม่ได้มาเพื่อตะบี้ตะบันฆ่ากันให้ตาย ไม่ใช่อย่างนั้นครับ การใช้อาวุธหรือการใช้กำลังในพื้นที่ เป็นไปเพื่อที่จะให้ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพี่น้องประชาชนเป็นหลัก กำลังที่มาทั้งหมดไม่ได้เพื่ออยู่ข้างใด เรามาเพื่อสร้างความเข้าใจ สร้างความปลอดภัยเพื่อที่จะให้กระทรวงคมนาคมอื่น ๆ หรือกลุ่มงานอื่น ๆ หรืองานพัฒนาอื่น ๆ เนี่ย หรืองานสร้างความเหน็ดเหนื่อยสามารถที่จะลงไปสู่พื้นที่ได้

พี่น้องประชาชนคิดดูครับว่าถ้ามันยังเกิดความไม่ปลอดภัย  ไม่มีกำลังทหารเนี่ย เราก็อาจจะไม่สามารถจะให้พี่ไกรสรหรือคนใดคนหนึ่งเข้าไป เพื่อจะนำความปลอดภัยหรือสร้างความเข้าใจ ปัญหาประการหนึ่งของในพื้นที่นะครับ ก็คือการไม่เข้าใจกัน มีกลุ่มคนบางกลุ่มบอกว่าที่นี่ไม่ใช่ประเทศไทย เราต้องยอมรับกันครับว่ามันมี แต่มันไม่มีทั้งหมดครับ ถ้ามีทั้งหมดก็คงอยู่ไม่ได้แล้วครับ ที่นี่ไม่ใช่ประเทศไทย ที่นี่เป็นอีกประเทศนึง ประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่มีมาเนี่ย มาปลุกให้คนบางกลุ่มคิดอีกแบบนึง แล้วการที่เราจะเข้าไปสร้างความเข้าตรงนี้ มันก็ต้องใช้งานการสร้างความปลอดภัยในกรอบที่กองการรักษาของเรามีกำลังกองพันต่าง ๆ กรมต่าง ๆ แต่ละหน่วยเข้าไปสร้างความปลอดภัย เพื่อที่จะให้เกิดสภาวะการยอมรับ ความเข้าใจ ในการพัฒนา นี่คือกรอบงานที่เราทำอยู่

แต่ว่าสถานการณ์ดีขึ้นโดยลำดับครับ เราจะเห็นว่าในปีงบที่ผ่านมา เหตุการณ์ลดลง ความสบายใจประชาชนมากขึ้น การใช้ชีวิตของประชาชนอยู่อย่างวิถีปกติมากขึ้น มีการลดลงประมาณหมื่นอัตรา แต่ก่อนนี้ภาคใต้ กองทัพภาคที่ ๑  ดูแลนราธิวาสมาจากภาคกลางนะครับ กองทัพภาคที่ ๒ มาจากอีสาน ดูแลจังหวัดปัตตานี เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ภาคที่ ๓ เราก็มีการลดกำลังลง  แต่ว่าอยากให้พี่น้องประชาชนเข้าใจว่า ปัจจุบันนี้เป็นเรื่องของโซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นเรื่องของการแพร่กระจายข่าวสารที่มีความรวดเร็ว อาจจะทำให้รู้สึกว่ามีภาคส่วนที่รู้จักกันอยู่แล้ว เราก็ต้องช่วยกันแก้ต่อนะครับ

ในขั้นต้นอยากจะเห็นว่า กองอำนวยการรักษาทรัพย์สินส่วนหน้านี่ เราทำตามกรอบของรัฐบาลนะครับ ที่จะสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน โดยใช้หลักทั้งทางการเมืองและการทหาร ถ้าเกิดเดินหน้าไปไม่ถูกนะครับ ป่านนี้ตายกันไปเยอะแล้วครับ เพราะฉะนั้นเราใช้การความรุนแรงหรือใช้กำลังเท่าที่จำเป็น ในจังหวะที่ต้องยิงกันหรือต้องดำเนินการแล้วนะครับ ก็อยากจะเรียนว่าผมก็เป็นขานึงของพี่ไกรสร  เกิดปัญหาขึ้นเรื่อยครับ โดยปัจจัยหลักเราไม่มีใครชนะและไม่มีใครแพ้ครับ ต้องการให้เกิดความสันติสุขยั่งยืน ในกรอบของกองอำนวยการรักษาทรัพย์สินส่วนหน้าเนี่ย เรื่องความมั่นคงเราก็คงจะเน้นในเรื่องของการสร้างความปลอดภัย

สื่อมวลชน: นอกเหนือจากความมั่นคงการดำเนินการทางทหาร ๗ โครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาลเองแล้วก็ กอ.รมน. เองนี้นะคะ การขับเคลื่อนงานต่าง ๆ ตอนนี้กองอำนวยการรักษาทรัพย์สินส่วนหน้ามีความคืบหน้าอย่างไรและก้าวหน้าอย่างไรบ้างคะ ท่านรองโฆษก

พลเอกยุทธนาม เพชรม่วง: ก็อย่างที่เรียนว่ามีสิ่งบ่งชี้ตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน ว่าสถานการณ์มีการพัฒนาในกรอบที่วางไว้ตามลำดับครับ ผมเป็นผู้บังคับหมวดถึงผู้บังคับกองร้อยเนี่ยสมัยปี ๓๖-๔๔ ตอนนั้นก็สถานการณ์อีกแบบนึง แต่ตั้งแต่ปี ๔๗ เนี่ยพื้นที่ภาคที่ ๔ ผมถูกส่งไปอยู่ที่กองพันที่ ๔ ที่นั่น เพื่อที่จะเป็นผู้บังคับกองพัน หลังจากนั้นก็มีสถานการณ์รุนแรงมาโดยตลอด

วัน ๆ นึงนี่เรารักษาการณ์ โดยที่ข้อมูลมันประจักษ์แล้ว ไม่ได้นึกเองนะครับ แต่ละวันมีเหตุการณ์มากมายหลายอย่าง มีการเสียชีวิตของประชาชน ได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก และหลังจากที่เราได้เข้ามาทำงานแล้วนะ ก็มีการดำเนินการทางด้านบังคับใช้กฎหมาย ด้านของการสร้างความเข้าใจตรงที่คิดว่าไม่เข้าใจ มีการมาบิดเบือนต่าง ๆ เพื่อที่จะเข้าสู่กลุ่มเหล่านี้ จะได้มีความเข้าใจมากขึ้น สังเกตได้จากโครงการพาคนกลับบ้าน แสดงตัวมีมากขึ้น สถานการณ์ลดลงโดยลำดับนะครับ

ทุกวันนี้ก็ไม่ได้ว่าแต่ก็ยังไม่หมดคงต้องทำกันต่อ พูดเป็นลำดับ พี่น้องประชาชนใช้ชีวิตตามเทศกาลต่าง ๆ หรือตามปกติได้มากขึ้น นี่เป็นการประเมิน ไม่ใช่เราประเมินเองนะครับ เรามีหน่วยงานประเมิน มีการลดกำลังทหารลง มีการเพิ่มหน่วยที่จะเป็นความมั่นคงในอนาคต ผมเชื่อได้ว่ามีการพัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยการทำงานร่วมกันทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ทหาร หรือภาคประชาชน ผมก็เชื่อได้ว่า ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมานี้ยังไม่ได้เลวร้ายอย่างที่เราคิดกันนะครับ

สื่อมวลชน: คงจะต้องเรียนถามท่านอีกประเด็นหนึ่ง ว่าในเรื่องว่าถ้าทหารทำงานในเรื่องมิติของความมั่นคง ส่วนเรื่องของความสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ทหารมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง ในการที่ทำให้พี่น้องประชาชนมีความเข้าใจและมีความร่วมมือ ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาด้านมิติของความมั่นคงตรงนี้

พลเอกยุทธนาม เพชรม่วง: จะบอกได้ว่าใน ๗ กลุ่มงานนนี้นะครับ ผมคงต้องบอกว่าทุกฝ่ายมีส่วนร่วมกันหมด ไม่ใช่ว่าผมจะพูดถึงกลุ่มงานกลุ่มใดนะครับ อย่างเช่นในเรื่องของความมั่นคง ทางพี่ไกรสรก็จะมีกำลัง อส. ที่ช่วยในการรักษาความปลอดภัย ด้านทางตำรวจก็มี ใน ๗ กลุ่มงานทั้งหมดนี้หรือในงาน เราช่วยกันทั้งหมดครับ ในเรื่องของการสร้างความเข้าใจ ในเรื่องของการทำให้การใช้ชีวิตปลอดภัยยิ่งขึ้น  เราก็เข้าไปช่วยด้วยหมด

ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่นนโยบายของท่านผู้อำนวยการทหารบกยุคปัจจุบัน เรื่องของการใช้ชิวิตกับกิจการพลเรือนนะครับ ซึ่งท่านบอกว่าทหารนี่ เช้ามาไปตั้งด่าน สายมาเข้าไปพบประชาชน เอาเครื่องมือแพทย์ไปช่วยนะครับ บ่ายมาไปตั้งด่านอีกแล้ว เพราะฉะนั้นผมกับท่าน ผบ.ทบ. สามารถให้มีงานที่ทำงานด้านการเมือง คือผู้ผ้าพันคอสีฟ้าเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน และที่ยังงงคือเช้าตั้งด่าน บ่ายไปช่วยอีกแล้ว

ยกตัวอย่างนะครับ นโยบายที่ท่านแม่ทัพได้ดำเนินการ เป็นอีกตัวอย่างนึงในการสร้างความเข้าใจ เข้าไปช่วยเหลือประชาชน มันเป็นเรื่องของการที่จะต้องสร้างความเข้าใจและสร้างงานพัฒนาให้มาก เพราะฉะนั้นทหารก็เลยมีส่วนทำงานเรื่องพวกนี้ร่วมกันทุกฝ่าย งานพาคนกลับบ้าน งานสำนักงานพัฒนา เราก็สร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้น เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเราคงไม่สามารถจะแบ่งได้

แต่ที่พูดเมื่อกี้เพราะว่าอยากให้ท่านเห็นถึงความมั่นคงนะครับ ความร่วมมือทุกฝ่ายครับ ตรงนี้ถ้านึกภาพไป ตอนเช้านะครับ ทหารตั้งด่าน รปภ. ครู อส.ของพี่ไกรสร ชุด อบต. ชุด ชรต. กับประชาชนก็มาช่วยกันวางกำลังนะครับ ดูเส้นทางให้ปลอดภัยนะครับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านดำเนินการนะครับ เราไม่สามารถที่จะทำเองได้นะครับ เพราะฉะนั้นเนี่ย เราร่วมกันทุกฝ่ายในการที่จะสร้างความสุขของประชาชนครับ

  พิธีกร: ในยกแรกก็คงจะต้องเรียนท่านไว้แค่นี้ก่อนนะคะ มาถึงเรื่องของการพัฒนากันบ้าง  ในส่วนของ ศอบต. แน่นอนที่สุดซึ่ง ท่านคงจะได้ฟังเกี่ยวกับการพัฒนา ในแต่ละปีมีงบประมาณลงมามากมาย ในขณะนี้ที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำไมสถานการณ์ต่าง ๆ จึงยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการพัฒนานั่นเข้าสู่หัวใจพี่น้องประชาชนบ้างหรือยัง คงต้องเรียนถามท่านไกรสรนะคะว่าในส่วนของการทางพัฒนาพื้นที่ตรงนี้เพื่อนำไปสู่สันติสุขที่ยั่งยืน ว่าทาง สอบต. ได้ดำเนินการอย่างไร และกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ที่ลงไปในพื้นที่นั้นได้มีการตอบรับจากพี่น้องประชาชนยังไงบ้าง ขอเชิญค่ะ

 นายไกรศร วิสิษฎ์วงศ์ รองเลขาธิการ ศอบต.


ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ : ปีนี้สื่อมวลชนรู้สึกจะร่อยหรอกัน ผมเองก็อยู่บนเวทีของกรมประชาสัมพันธ์มา ๕-๖ ปีแล้ว ตั้งแต่เป็นนายอำเภอสายบุรี ครั้งนั้นลงพื้นที่ ตอนหลังได้ขึ้นมาอยู่ที่ สอบต. แล้วก็ ถ้าจำไม่ผิดเมื่อตอนปี ๒๕๕๘  ได้ไปจัดวิ่ง

 คืออย่างนี้นะครับ ก่อนจะเข้าเรื่อง ผมอยากจะพูดเป็นกรอบการทำงานในภาคใต้สั้น ๆ  ก่อน วันนี้ในเรื่องของการปฏิบัติราชการหรือการขับเคลื่อนกฏหมาย อยากให้เราเห็นภาพของการทำงานในภาคใต้นั้น ว่ามันมีอย่างน้อยใช้กฏหมายที่เป็นโครงสร้างหรือนโยบายถึง ๖ ฉบับด้วยกัน

เริ่มต้นตั้งแต่พระราชกำหนดในสถานการณ์ฉุกเฉินในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ประการที่ ๒  พระราชบัญญัติความมั่นคงภายใน ปี ๒๕๕๑ ประการที่ ๓ เป็นพระราชบัญญัติการตระเวนชายแดนภาคใต้ ปี ๒๕๕๓ ซึ่ง สอบต. เกิดมาใหม่ตรงนี้ มีหน้าที่ในการพัฒนา ประการที่ ๔ เรื่อง คสช. เข้ามา ปี ๒๕๕๗ ก็จะมีประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ ๙๘ ตัวนี้จะเป็นการกำหนดโครงสร้างภาคใต้ ว่าได้รับกับนโยบาย ปรับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติขับเคลื่อนพื้นที่

พอปี ๒๕๕๙ มีผู้แทนพิเศษของรัฐบาลก็จะมีคำสั่งของ คสช ที่ ๕๗-/๒๕๕๙ มีผู้แทนพิเศษของรัฐบาลเข้ามา คคต. มีเพื่อให้คำแนะนำต่าง ๆ นะครับ พอปี ๖๐ มีนโยบายการบริหารและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพราะฉะนั้นเวลาทำงานตรงนี้จะเป็นกรอบใหญ่ ๆ วันนี้เวลาผมสร้างหน่วยงานที่ทำงานเป็น พอเราพูด มั่นคงพัฒนา แต่ผมมองว่าแคบไป ผมอยากให้เห็นภาพการทำงานเป็นบริบท ว่าวันนี้ข้างบนมีแม่น้ำ ๕ สาย ข้างล่างก็มีแม่น้ำ ๕ สาย ท่านนายกอยากให้ประชาชนพร้อมกันนะครับ

สายที่ ๑ คือ กองอำนวยการรักษาความปลอดภัยของทรัพย์สินส่วนหน้า เป็นแม่น้ำสวยความมั่นคงสายหลัก สายที่ ๒ ศูนย์บริการทหาร ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็จะช่วยในเรื่องของการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาศักยาภาพพื้นที่นะครับ สายที่ ๓ เป็นกระทรวงทบวงกรม เรามียื่นถึงกระทรวง ๗๗ กรมในประเทศไทย ภาคใต้ก็ ๑๔ กระทรวง  ๑๗ หน่วยงาน ๓ ส่วนนี้จะเป็นขาประจำที่ทำงานอยู่ใน ๓ สายประจำ แต่ผลที่ คสช. เข้ามา มีเพิ่มเข้ามาอีก ๒ สาย คือมีผู้แทนพิเศษของรัฐบาล และมีคณะพูดคุยกันอย่างสันติสุข

การทำงานทางภาคใต้บางที่เราจะพัฒนาแค่ความมั่นคงอย่างเดียวไม่พอ เราต้องฟังเสียงคณะพูดคุยสันติสุข ที่เป็นคณะพูดคุยหลัก มีท่านพลเอกอักษรา เกิดผลเป็นผู้พูดคุยเกี่ยวกับหน่วยต่าง ๆ เค้ามีเทคนิคอย่างไร เราก็ถือเป็นกรอบในการขับเคลื่อนแม่น้ำ ๕ สาย

 นี่คือทำงานในภาคใต้ที่ประสานสอดคล้องกัน เราเรียกคุยกันเบื้องต้น มันมีมั่นคงกับพัฒนาความเข้าใจ แต่จริง ๆ วันนี้การขับเคลื่อนทางภาคใต้เราต้องอาศัยส่วนต่าง ๆ ของชาติ ข้างบนทำความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ข้างล่างก็ทำพัฒนา เข้าใจ สอดคล้องกันนะ ด้านมั่นคงรับกับด้านมั่นคง ด้านพัฒนารับกับด้านมั่งคั่ง ต่างชาติเข้ามาเราก็มาแปลงเป็นการพัฒนา ด้านความยั่งยืนของชาติ

เพราะฉะนั้นในการใช้แม่น้ำ ๕ สายมาเชื่อมโยงกันให้เห็นในภาค ผมก็พยายามสรุปให้เห็นภาพความมั่นคง สรุปสุดท้ายคนที่ทำงานในพื้นที่นี้มี ๕ หน่วย ๕ หน่วยวันนี้ไม่ใช่แยกกันว่า สอบต. ต้องทำงานพัฒนา อย่างเดียว ไม่ใช่ อย่างที่ผมบอกไว้ ที่นี่พอมามิติของการทำงานเนี่ย รัฐบาลได้มีแผนปฏิบัติการที่มีวัตถุประสงค์ในการทำงานทุกหน่วย ที่ผมบอกว่ามี ๕ สาย 

จะ ๔ กระทรวงหรือ ๒๐ กระทรวง แต่คนที่ลงไปทำงานเองต้องตอบโจทย์ ๔ ข้อนี้ให้ได้ ๑.ลดความรุนแรง  ๒. เป็นเรื่องของการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ๓. เสริมสร้างวัฒนธรรมให้เข้มแข็ง ๔. เป็นการสร้างความเข้าใจในพื้นที่ นอกพื้นที่ รวมทั้งต่างประเทศ

๔ ข้อนี้จะเป็นวัตถุประสงค์หลักนะครับ ภายใต้กลุ่มธุรกิจ งานจะมี ๗ กลุ่มธุรกิจ กลุ่มที่ ๑ เป็นกลุ่มการรรักษาความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สิน กลุ่มที่ ๒ เรื่องการดำเนินการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน กลุ่มที่ ๓ เรื่องการสร้างความเข้าใจทั้งในและนอกพื้นที่และต่างประเทศ กลุ่มภารกิจที่ ๔ จะเรียกศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มที่ ๕ การพัฒนาเศรษกิจของประชาชน กลุ่มที่ ๖ จะเรียกการขับเคลื่อนประสิทธิภาพ และกลุ่มภารกิจสุดท้ายกลุ่มที่ ๗ เป็นงานแสวงหาทางออกโดยการขัดแย้งก็จะมี ๗ กลุ่มภารกิจที่แบ่งกันออกไป

บางครั้งเราใช้คำว่าความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินเนี่ย ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมาทำงานด้านความมั่นคงนะครับ จะเห็นว่างบประมาณของ สอบต. เนี่ย ไปอยู่ที่งบประมาณรักษาความปลอดภัย ทั้งหมด เพราะมุ่งที่จะใช้เงินในกระบวนการพัฒนา เพราะจะสร้างความเข้มแข็ง ที่ได้บอกเมื่อสักครู่ ว่าวันนี้เราได้ใช้หน่วยกำลังของประเทศมาแทนหน่วยจากต่างพื้นที่ค่อนข้างมาก และให้การมีส่วนร่วมของกำลังภาคประชาชนหรือกำลังประจำถิ่นนั้น ได้ช่วยเหลือลงพื้นที่มากขึ้นในองค์กร 

ดังนั้นทางฝ่ายงานพัฒนาที่จะมีพลังมวลชนที่จะเป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านก็ดี จะเป็นภัยอาสาป้องกันชาติก็ดี จะเป็นในเรื่องของ ชรบ. หมู่บ้านป้องกันภัยก็ดี ก็จะเข้ามาขับเคลื่อนแทนเจ้าหน้าที่รัฐที่เป็นฝ่ายกำลังทหาร เราใช้กำลังประชาชนประจำท้องถิ่นในการทำงาน ตรงนี้การสร้างงบประมาณต่าง ๆ ไม่ใช่ กร.อสม. อาจจะเป็นการคิดวางแผนยุทธศาสตร์การฝึกอะไรให้ แต่การใช้งบประมาณดูแล งานพัฒนาทางด้านการสร้างความเข้าใจ

ในเรื่องของความยุติธรรมก็เช่นกันนะครับ บางที่เรามองว่างานยุติธรรมนั้นมีกระบวนการสอบสวนรวบรวมปัญหาส่งให้ศาล ส่งฟ้องไปยังศาล ศาลตัดสินแล้ว ไปยังเรือนจำ เรือนจำได้ออกมาคุมความประพฤติ ในกระบวนการยุติธรรมทั้งหมดนะครับ แต่มันยังมีอีกกระบวนการยุติธรรม คือกระบวนการยุติธรรมทางเลือก มีศูนย์ดำรงธรรมเข้ามาช่วย ก่อนที่จะไปเรื่องถึงโรงถึงศาลนั้น รับเรื่องราวร้องทุกข์ที่ต้นทาง โดยบัณฑิตอาสา อันนี้เป็นกระบวนการพัฒนาอย่างหนึ่งของงานความมั่นคงนะครับ

ส่วนงานพัฒนาหลัก ๆ ก็จะอยู่ที่เรื่องของงการพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ พัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาการศึกษา นี่ก็จะเป็นงานพัฒนาเรื่องที่ ๒ ที่เรานำไปต่อยอด งานพัฒนาอย่างที่ ๓ ก็คือเรียกว่าเป็นงานที่บูรณาการร่วมกัน คือใครที่ยังไม่เป็นเจ้าภาพงาน ศอบต. ก็รับไปเป็นเจ้าภาพงานนั้นให้


พิธีกร: ในเบื้องต้นคงจะให้ท่านไกรสรแค่นี้ก่อนนะคะ เดี๋ยวจะมีคำถามเข้ามา แล้วจะได้พูดต่อในมิติต่าง ๆ ด้านการพัฒนาด้วยค่ะ คงจะมาที่คุณอาหามะบ้างนะคะ ในฐานะที่เป็นในส่วนของพลังภาคประชาชน  และเข้ามาขับเคลื่อนในเรื่องของต่อสู้ การทำงานทำอย่างไรให้พี่น้องประชาชนในพื้นที่ได้มีที่อยู่ที่กินที่อาศัย และนำไปสู่ความยั่งยืนในเรื่องของการแก้ปัญหาที่ดินบุโด-สุไหงปาดี

หลาย ๆ ท่านคงจะเคยได้ยินกันใช่ไหมคะ พี่น้องสื่อมวลชนส่วนกลางอาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้ว ปัจจุบันนี้ทางการได้แก้ปัญหานั้น การตอบรับจากรัฐบาล พี่น้องประชาชนเองก็มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างไร อยากจะให้คุณอาหามะเล่าให้ฟัง ว่าการเข้ามามีส่วนร่วมกับการแก้ปัญหาเรื่องที่ดินบุโด-สุไหงปาดี ได้มีส่วนร่วมกับการเสริมสร้างความเข้าใจของประชาชนนั้น คุณอาหามะมีส่วนขับเคลื่อนอย่างไร เชิญค่ะ



 อาหามะ ลีเฮ็ง : คือเรื่องปัญหาที่ดินบูโดที่ก็ได้มาต่อสู้ตั้งแต่ ๒๕๔๙ ก็มีท่านหนึ่งที่เห็นชอบให้  คือพี่น้องที่เขาบุโดก็มีปัญหา พรบ.ป่าไม้ ขึ้นอยู่กับอุทยานแห่งชาติ ช่วงปี ๔๓ ทางสถานีก็ได้มีนัดกับกรมที่ดิน ได้สูญเสียชีวิตที่หมู่บ้าน และก็ทางเครือข่ายเองก็ถูกทางอุทยาน ฯ เอารัดเอาเปรียบ ที่ดินสมัยปู่ย่าตายายก็ถูกยึดไป หาว่าไปละเมิดสิทธิ์ ส่วนที่ดินที่อยู่นอกเขต บางทีเขาก็ไม่ได้มาช่วยเหลือ ไม่ได้ออกโฉนดให้ ทางทีมงานลงไปช่วงปี ๒๕๕๓ – ปี ๒๕๕๗ ก็ดีขึ้นมา

ในช่วงของรัฐบาล คสช. คือทางรัฐบาลได้ส่งทีมออกโฉนดที่ดินมาอยู่ที่บุโดทั้งหมด จนกระทั่งว่าเราได้โฉนดที่ดินซึ่งออกนอกพื้นที่อุทยานป่าสงวนก็ปีนี้ หมื่นห้าพันแปลงเราก็ได้คืนความสุข คืนรอยยิ้มให้ประชาชนในบุโดตั้งแต่ว่ามีน้ำป่า แห้งแล้งตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ ซึ่งน้ำก็ไม่มี พอปี ๒๕๕๗ ก็ดีขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนแปลงที่ดินที่อยู่ในเขตอุทยาน ฯ และในเขตป่าสงวน ปีนี้ผมคิดว่าน่าจะเห็นผล ทางอำเภอบาเจาะน่าจะนำร่อง จะคืนความเป็นธรรมให้กับพี่น้องบุโดให้ดีที่สุด เบื้องต้นก็จะให้รับรองสิทธ์ที่อยู่เขตอุทยาน ฯ หรือเขตป่าสงวน ชาวบ้านไม่มีสิทธิ์ ก็ไม่สามารถไปขึ้นทะเบียนเกษตรกรได้ ไปขอเงินสงเคราะห์ได้ ประมาณนี้ 

พิธีกร: คงต้องเรียนถาม เราต่อสู้มาหลายปีมากแล้วอยู่ ๆ เนี่ย รัฐบาลทหารมา ได้ช่วยให้พี่น้องประชนชนมีที่ดินทำกินขึ้น มีโฉนดที่ดิน ตรงนี้เรารู้สึกอย่างไรบ้างคะ แล้วเรามีวิธีการอย่างไร ที่จะขับเคลื่อน ที่จะเข้าไปช่วยให้ประชาชนเข้าใจคะ

อาหามะ ลีเฮ็ง : เบื้องต้นคือ ช่วงก่อนปี ๒๕๕๗ เนี่ย รัฐบาลใหม่ไม่ชัดเจนที่จะเข้ามาช่วยเหลือชาวบ้าน ผมเองก็เป็นคนกลางที่จะเข้าประสานระหว่างชาวบ้านกับ ศอบต. ชาวบ้านก็คิดว่า จะทำให้หรือ จะโกหกหรือเปล่า พอปี ๒๕๕๗ นโยบายก็ทำจริง ชาวบ้านเองก็จับต้องได้ ทำให้ความเชื่อมั่นของชาวบ้านเริ่มดีขึ้น และก็วันนี้เอง สามารถพูดได้เลย ว่าปีหน้าเราจะมีโฉนดที่ดินเพิ่มเติม อีก ๑๕,๐๐๐ แปลง คือมั่นใจ

พิธีกร: เรื่องของการออกโฉนดที่ดินวันนั้น สื่อก็จำได้ว่าที่นายก ฯ ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดนราธิวาส ที่มามอบที่ดินให้ ถามแทนสื่อมวลชน ถามแทนพี่น้องประชาชนนะคะ ว่าคุณอาหามะและเครือข่ายรู้สึกอย่างไร คะวันนั้น ที่โฉนดที่ดินมาถึงมือเรา

อาหามะ ลีเฮ็ง: จากที่สิ้นหวัง น้อยใจ รัฐบาลช่วยเหลือเฉพาะคนที่รู้ภาษาอังกฤษ พี่น้องบูโดก็ไม่ได้ พอปี ๒๕๕๗ มีโฉนดที่ดินของพี่น้องใบแรก ก็รู้สึกพูดไม่ออก จากที่ไม่เคยได้มาได้ ชาวบ้านดีใจ อยากให้นายก ฯ มาแจกเองทุกอำเภอเลย แต่ก็ได้มาแค่จังหวัดนราธิวาส ดีใจจนพูดไม่ออกเลย

พิธีกร: ดีใจใช่ไหมคะ ไม่คิดว่าภาครัฐจะช่วยเหลือได้จริง ในฐานะที่เราเป็นภาคประชาชน คุณอามะมีแนวคิดอย่างไรที่จะช่วยเหลือภาครัฐสร้างความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน ในเมื่อรัฐบาลหรือส่วนราชการต่างๆ ขับเคลื่อนงาน มาแก้ปัญหาในพื้นที่ได้อย่างมากมาย แต่มีพี่น้องบางส่วนของเราเนี่ยยังไม่เข้าใจนโยบาย ยังคงต่อสู้กันรุนแรง ยังใช้อาวุธ ในฐานะชาวบ้าน เราจะทำอย่างไร  เรารู้สึกอย่างไรคะ

อาหามะ ลีเฮ็ง : ผมเองจากที่ไม่มองเรื่องความมั่นคง แต่ผมก็ว่าถ้าลูกนาย ก. นาย ข. มีโฉนดที่ดินเป็นของตัวเองมากขึ้น ความมั่นคงในชีวิตก็จะมากขึ้น กินดีอยู่ดี เชื่อว่าน้อยคนมากที่จะอยู่ในความลำบาก ทางเครือข่ายบูโดได้คิดว่า เห็นเยาวชนได้จบ ม.๖ ไปแล้ว ไปทำงานอยู่ฝั่งมาเลเซีย ตอนนี้ฝั่งมาเลเซียก็อยู่ไม่ได้ เราจะทำอย่างไรให้เยาวชนมีงานทำที่บ้าน สามารถต่อปริญญาตรี เสาร์ อาทิตย์ได้ นี่เป็นความคิดเห็นของผมครับ

พิธีกร: ค่ะ ที่พูดมาทั้งหมด คุณอาหะมะพูดออกมาว่า เมื่อเรามีที่ดินทำกินแล้ว แล้วลูกหลานของเราไปมาเลเซียตอนนี้ก็ลำบาก ถูกจับ อยู่ไม่ได้ ไม่มีงานทำ ศอบต. ในฐานะที่เป็นหน่วยที่มีส่วนพัฒนา เราจะเข้าไปมีส่วนอย่างไร และทำอย่างไรที่จะให้เขาเข้ามามีความร่วมมือกันคะ ที่จะทำงานที่บ้านเรา มีที่อยู่ที่ทำกินที่บ้านเรา และมีสถานที่ทำงานในบ้านเรา เชิญค่ะ

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ : ผมเสริมคุณ อาหะมะสักนิด เรื่องที่ดินบูโดนะครับ ที่ดินบูโดกินพื้นที่ทั้งหมด ๓ จังหวัด นราธิวาส ปัตตานี ยะลา ๙ อำเภอ ๒๕ ตำบล ๘๖ หมู่บ้าน เฉพาะนราธิวาส ๗ อำเภอ ยะลา ๑ อำเภอ ปัตตานี ๑ อำเภอ ที่ประกาศพื้นที่ที่ชาวบ้านอาศัยอยู่ ทับซ้อนกับพื้นที่อุทยาน ป่าสงวนแห่งชาติ ๒๐๐,๐๐๐ กว่าไร่

ใน ๒๐๐,๐๐๐กว่าไร่ พอเช็คดูชาวบ้านอ้างว่าทำกินอยู่เกือบ ๘๐,๐๐๐ ไร่ คิดเป็นราย ประมาณ ๓๐,๐๐๐ กว่าราย ชาวบ้านจำนวนนี้กระสับกระส่ายไม่ค่อยสบายใจ วันดีคืนดีก็ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้มาจับ เพราะบุกรุกป่า พอมีมติ ครม.ให้รัฐบาลคลี่คลายปัญหาตรงนี้ โดยให้ไปจัดระบบ หาโมเดลมา เราก็เริ่มมาเดินสาย จาก ๓๐,๐๐๐ ราย เราขีดออกมาได้ ๒ วง วงแรกเห็นชัดเจนประมาณ ๑๐,๐๐๐ ราย เป็นยังอยู่ในที่ดินในอุทยาน ฯ ชัดเจน ตรงนี้ต้องมาพิสูจน์กัน และวงที่สองสามารถขีดออกมาให้เห็นว่า คนนี้ที่ว่าอยู่ในอุทยาน ฯ ที่จริงแล้วไม่ได้อยู่ อยู่รอบอุทยาน ประมาณ ๒๐,๐๐๐ กว่าราย ประมาณ ๒๒,๐๐๐ ราย

ปรากฏว่า จะทำนี้ต้องใช้เวลาวางแผน ๑๐ ปี แต่รัฐบาล คสช. เข้ามา ๒ ปีกว่า ดำเนินการด้วยวิธีพิเศษ ปัจจุบันนี้สามารถออกโฉนดได้ ๒๔,๐๐๐ ราย ที่อยู่ด้านนอกเขตเสร็จหมดแล้ว และเหลือที่อยู่ในเขต อีก ๑๑,๐๐๐ แปลง กำลังใช้โมเดลที่บาเจาะ เพื่อให้แล้วเสร็จ คนที่มีสิทธิ์เนี่ยต้องทำอย่างไร แล้วคนไม่มีสิทธิเนี่ยต้องทำอย่างไร นอกจากนั้น คสช. กำลังดำเนินการ

ประชาชนก็กังวลว่าที่ไม่ไปบุกรุกเนี่ย เขาก็จะไม่มาออกโฉนดได้เลย จะต้องให้บุกรุกก่อนหรอถึงจะให้โฉนด กำลังเตรียมว่าภาคใต้จะให้มีการวัดโฉนดเป็นกรณีพิเศษ ใช้ชุดที่เคยทำสองหมื่นกว่าแปลงมาทำต่ออีก ๔ ปี ปีละ ๑๕,๐๐๐ แปลง เพราะฉะนั้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๔ ปีข้างหน้า เราจะมีการดำเนินโฉนดอีก ๖๐,๐๐๐ แปลง เป็นแนวคิดการทำงานของรัฐบาลชุดนี้ เราไม่ได้มุ่งหวังแค่ประชาชนมีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ แต่เรามุ่งหวังว่าพี่น้องประชาชนจะได้มั่นใจและกล้าลงทุนในที่ดินของตน

ช็อตที่สองคือไปพัฒนาในพื้นที่ร่องบูโด ก็จะมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตอยู่ ๒ มิติ มิติเศรษฐกิจ กับมิติคุณภาพชีวิตทั่วไป มิติเศรษฐกิจก็มีการพัฒนาอาชีพ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่จะไปสอดรับ เราจะตั้งให้มีกลุ่มอาชีพ และเอาเงินไปโครงการละ ๒-๓ แสนบาท ตามที่กลุ่มต้องการ เพื่อที่จะตอบคำถาม ว่าไม่ต้องไปมาเลเซียแล้ว ให้กลับมาในพื้นที่ ไม่ใช่ว่าเอาเงินมาแจกให้ทุกคน เราต้องการให้สร้างความเข้มแข็ง อย่าทำซ้ำซากที่เราเคยเอาเงินไปละลายแม่น้ำ ให้ชาวบ้านมีส่วนร่วม ให้ชาวบ้านเข้าใจ มีส่วนร่วม และตรงกับความต้องการของชาวบ้าน อันนี้คือสิ่งที่เราขับเคลื่อนมา  

ส่วนสองก็คือคุณภาพชีวิต ไม่ใช่ได้โฉนดแล้วปล่อย เราก็ดูเรื่องถนนหนทาง เรื่องการศึกษา เรื่องสุขภาพอนามัย คือสิ่งที่ไปต่อยอดให้ ร่องบูโดนี่เราต้องดูทั้งคุณภาพชีวิต ทั้งเศรษฐกิจเพื่อต่อยอดโครงการพัฒนา ในจำนวนคน ๙ อำเภอ ๘๐ หมู่บ้านที่ว่าเนี่ย คิดเป็นเกือบ ๘๐,๐๐๐ ราย ซึ่งวันนี้เรามีหน่วยงานต่าง ๆที่มาร่วมงานกับเราค่อยข้างเป็นระบบ เป็นรูปธรรมมากขึ้น

พิธีกร : พี่น้องสื่อมวลชนอาจสงสัย ว่าทำไมเกี่ยวโยงกับการออกโฉนดที่ดินที่บูโด -สุไหงปาดี เนื่องจากเรื่องที่ดินเป็นเงื่อนไขที่เป็นปัญหา เรื่องความเป็นธรรมกับประชาชน เนื่องจากฝ่ายตรงข้ามจะใช้เงื่อนไขตรงนี้ ดังนั้นรัฐบาลจึงแสดงให้เห็นถึงความจริงใจว่า เรื่องที่ดินที่พี่น้องประชาชนไม่ได้รับความเป็นธรรมรัฐบาลพร้อมจะคืนความเป็นธรรมให้ นี่คือที่มาว่า บูโด -สุไหงปาดี สำคัญอย่างไร อยากจะให้สื่อมวลชนได้มีความเข้าใจ

เมื่อกี้ที่ผ่านมาเราก็ให้ทั้งสามท่านพูดถึงประเด็นของการทำงานแต่ละองค์กร แต่ละหน่วยงานแล้ว พี่น้องสื่อมวลชนที่มาบางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจมิติการทำงาน หรือที่เข้าใจแล้วยังไม่ลึกซึ้งก็เปิดโอกาสให้ถามได้ค่ะ วันนี้ท่านไกรสร ท่านเป็นผู้แทนจาก ศอบต. ท่านก็ตอบได้ทุกเรื่องค่ะ ท่านรองโฆษกก็รู้ทุกเรื่อง ตอบได้ทุกเรื่องค่ะ สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถามก็ได้ค่ะ

สื่อมวลชน : ผมอยากจะถามก็คือว่า การเดินวัดที่ดินสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราประชาสัมพันธ์ให้เขาทราบยังไง ว่าเราจะทำอย่างเนี่ย

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ : อันนี้ตอบได้เลยว่า คนที่รู้นั้น ทั้งสามมิตินั้นรู้กันทั้งหมด มิติที่ ๑ คือ ผู้ที่มีส่วนได้เสีย ในบูโดที่ผมบอกว่ามีอยู่สองวง ที่เราขีดมาอยู่แล้วว่าอยู่ในเขตอุทยาน ฯ หมื่นแปดพันราย และที่อยู่นอกเขต เขากลัวไม่ได้เอกสารสิทธิ์ เราเร่งให้จบภายใน ๓ ปี สองหมื่นสี่พันราย ให้เราได้รู้ ทีนี้มันส่งผลถึงคนภายนอกไงครับ ที่เขา ไม่ได้อยู่ในเขตอุทยาน ฯ เลย ปกติเราเดินโฉนดแบบปกติปีหนึ่งได้ ๔๐ ราย คิดดูสิครับ แล้วทีนี้คนที่ยังไม่มีเอกสารสิทธิ์เขาเลยยื่นเข้ามา เราก็ทำแผนออกไป

เพราะฉะนั้นคนในรู้ และคนที่มีส่วนได้เสียรู้ เพราะฉะนั้นคนนอกก็ต้องรู้ เพราะเป็นการตั้งงบประมาณของกรมที่ดิน เข้ามาขับเคลื่อนตามมาตรฐาน ที่ออกต่าง ๆ เนี่ย เครือข่ายสมัชชาที่ดินในลักษณะบูโด แบบอาหามะ มีทั้งหมด ๒๖ เครือข่ายทั้งประเทศ บูโดคือ ๑ ใน ๒๖ ที่ทำ ถ้าตรงนี้ขับเคลื่อนและทำรูปแบบได้เป็นมาตรฐาน คนอื่นคงจะเอาเป็นต้นแบบ นี่คือสิ่งที่เราสร้างความเข้าใจกับทั้งประเทศ ใช้เป็นโมเดลนำร่องเลย

พิธีกร : มีอีกไหมคะพี่น้องสื่อ อยากให้ทุกท่านได้แลกเปลี่ยน เชิญค่ะ

สื่อมวลชน : นอกจากเรื่องเอกสารสิทธิ์แล้ว อยากทราบเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของบูโดด้วยค่ะ เพื่อที่จะให้ประชาชนได้ใช้ชีวิตที่มีคุณภาพ  อยากทราบว่าพัฒนาไปถึงไหน และอยากทราบว่าจากอดีต มันเป็นยังไงคะ

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ :ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ผมเชื่อว่าในสามจังหวัดภาคใต้ ส่วนที่ ๑ ได้ไปทำที่สุไหงปาดี สร้างฝาย สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ เราเชื่อว่าถ้ารักษาต้นน้ำแล้วสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้    ส่วนที่สองคือเราสร้างถนนคอนกรีต ที่ฝั่งบูโด ใช้มอเตอร์ไซค์ขับได้เลย ตอนนี้ที่บาเจาะมี ๒ เส้น ที่อิกนอมีสามเส้น แล้วก็ในเรื่องอาชีพแผนนโยบายของชาวบ้าน ต่างจากแผนของอบต.  อบต.เขามีระเวลา ๕ ปี แต่ชาวบ้านอยากได้วันนี้ให้เห็นผล  ตอนนี้ไปจับต้องดูได้เลย

พิธีกร : อยากให้ท่าน ศอบต. ได้อธิบายถึงโครงสร้างพื้นฐานค่ะ ให้พี่น้องได้เข้าร่วมโครงการบูโด-สุไหงปาดีนี้ค่ะ

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ : จริง ๆ โครงสร้างพื้นฐานต้องตอบตรง ๆว่า เราต้องเคารพของการเป็นพื้นที่อุทยาน ฯ การทำงานต่าง ๆเราต้องได้รับการอนุญาตและยินยอม แต่ในเรื่องของถนนหนทางที่เป็นโครงข่ายนั้นก็ดีพอสมควร ค่อนข้างครอบคลุมพอสมควร แต่ที่เห็นกำลังพัฒนานั้นเรากำลังพลิกวิกฤตและสร้างต้นทุนให้กับพื้นที่ในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยว จะเห็นว่าพื้นที่อุทยาน ฯ ที่ทำงานร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ของป่าไม้นั้น เราก็มีการเข้าไปปรับปรุงที่จอดรถนักท่องเที่ยว มีการปรับปรุงให้เส้นทางดูสะอาด มีป้ายชื่อไปยังน้ำตกต่าง ๆ มีกลุ่มที่จะมาชมทัศนียภาพของป่าบาลาฮาลาในพื้นที่ มีการเตรียมเรื่องโรงเรียน การศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ตชด.ก็ดี ตามพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเทพ เราเข้าไปส่งเสริมพัฒนาเยาวชนเรื่องการเรียนรู้เรื่องภาษาไทย 

พูดตรงๆ ว่าโครงสร้างพื้นฐานส่วนหนึ่งของการพัฒนา ส่วนที่ลงไปคือการพัฒนาศักยภาพพื้นที่  และก็พัฒนาศักยภาพชีวิต ที่ลงไปในพื้นที่ เพราะฉะนั้นตรงนี้ จะมีเป็นเรื่องของรายหมู่บ้าน รายครัวเรือนและรายตำบล และเป็นรายอำเภอไป ตรงนี้สร้างแผนงานที่จะลงไปในพื้นที่แต่ว่าตรงนี้ต้องบอกเลยว่าเราผนวกแผนทั้งหมดในการพัฒนาให้มีการบูรนาการ เชื่อมโยงยุทธศาสตร์ เช่นเรื่องบูโด ให้สอดรับกับเรื่องเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ  ให้สอดรับกับเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และสอดรับการพัฒนาการท่องเที่ยว การค้าชายแดน หรือแม้กระทั่งการแปรรูปสินค้าเกษตรต่าง ๆ อันนี้เราเตรียมลงไปส่งเสริม ในพื้นที่ทั้งหมดครับ  

พิธีกร : มีอีกไหมคะที่จะสอบถามเข้ามา อยากจะให้เป็นแบบแลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งกันและกันทั้งสองฝ่าย ทั้งในส่วนของสื่อที่อยากจะรู้ประเด็นไหนมิติความมั่นคงสามารถสอบถามเข้ามาได้เหมืนกันนะคะ 

สื่อมวลชน อยากขออนุญาตนิดหนึ่งคะ ในเรื่องของประเด็นความเข้าใจด้านการประชาสัมพันธ์ คือในปัจจุบันอย่างที่ทราบดีว่ามี social media เยอะมาก การกระจายข้อมูลก็จะมีทั้งข่าวลือ ข่าวลวงมากมายอยากถามในส่วนของเจ้าหน้าที่มีการกลั่นกรองอย่างไร หรือว่ามีการป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดที่มันขยายไปตาม social media 

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ : สำหรับเรื่องนี้นะครับ มันเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาใหญ่อยู่พอสมควร เนื่องจากว่าทางกลุ่มผู้ดูแลคงจะมีส่วนที่ดำเนินการด้านสร้างความไม่เข้าใจ  ประกอบกับปัจจุบันสื่อกระแสหลักเราค่อนข้างจะทำความเข้าใจกันได้ แม้แต่อย่างเวลาเราประชุมสื่อหรือคุยกับสื่อ  สื่อก็ยังบอกว่าหนักใจเรื่องของสื่อ social media  เป็นอะไรที่ควบคุมยากนะครับ  ในตอนนี้ทางเราก็พยายามออกมาชี้แจง เรามีศูนย์ประชาสัมพันธ์ก็คือศูนย์ของเราประสานกับส่วนของราชการที่เกี่ยวข้องชี้แจงทำความเข้าใจ  จะมีสำนักจัดการข่าวสารที่จะชี้แจงผ่านระบบเว็บไซต์ต่าง ๆ

แต่ก็อย่างที่เรียนให้ทราบว่าตอนนี้เป็นปัญหาที่จะต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจจริง ๆ ครับ  เนื่องจากว่าสื่อเหล่านี้ออกไปเร็วมาก ผมยกตัวอย่างเช่น  มีการระเบิดเสาไฟฟ้าระเบิดตอนประมาณเที่ยงคืน พอใกล้ ๆ ๐๖.๐๐ น. ปรากฏว่าขณะนี้มีเจ้าหน้าที่ อส. เสียชีวิต มันเป็นภาพที่ต่อเนื่องกันในปีก่อน ๆ โฆษกของผมออกมาชี้แจง มีการกระทำที่เป็นกระบวนการที่จะบิดเบือนความเข้าใจของพี่น้องประชาชน  

เพราะฉะนั้นตอนนี้เราก็มีส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทั้ง ศอบต.  ทั้งเรา  ที่พยายามออกมาชี้แจง แล้วก็คงต้องบังคับใช้กฎหมายเรื่องของ  พรบ.คอมพิวเตอร์  เช่นยกตัวอย่างเช่น เรื่องที่บอกว่า ตั้งค่าหัวบุคคลสำคัญในพื้นที่อะไรอย่างนี้  เราก็ดำเนินการตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ ในการใช้กฎหมายแล้วออกมาชี้แจงครับ 


แล้วก็ของ ศอบต. ถามถึงมาตรการจะป้องกันอย่างไรนะครับ เราคงทำใน ๓ ส่วน อันที่หนึ่งคำว่าการสร้างความเข้าใจนั้น เราพยายามอธิบายให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ เราต้องทำในเรื่องของความเข้าใจนั้น ที่เราจะสรุปว่ามีการสำคัญ ให้เกิดความเข้าใจนั้นเรามอง ๔ ส่วน ๑ ทำอย่างไรให้เขาได้รับรู้นโยบายต่างๆ ๒ คือเข้าใจประเด็นที่เป็นที่สนใจ  ประเด็นที่เป็นข้อขัดแย้ง  ประเด็นที่บิดเบือนกันอยู่ ๓ เข้ามามีส่วนร่วมในเรื่องนั้น ทุกมิติของ โครงการ จะเห็นว่าโครงการในภาคใต้งบ ๑๒,๐๐๐ ล้านบาท  ที่กระทรวงต่าง ๆ ทำนั้น จะเน้นเลยครับว่าคุณต้องขับเคลื่อนสร้างความเข้าใจด้วย ประการที่ ๓ ที่จะเข้าใจได้ก็คือมีส่วนร่วม  รับรู้  เข้าใจประเด็น และมีส่วนร่วม และ ๔ อันสุดท้ายสนองความต้องการ

ตรงนี้จะเป็นการป้องกันได้ระดับที่หนึ่ง  ระดับที่ ๒ ที่ สบต กำหนดรูปแบบก็คือว่า  เราต้องพยายามเอากระบวนการของทางราชการขับเคลื่อนงานประชาสัมพันธ์เกือบทุกมิติ วันนี้พี่ไมค์ กรน. ภาค ๔  ต้องคอยตั้งรับ ชี้แจง ประเด็นเวลาเป็นข่าวแต่จริง ๆ แล้วจะให้มาชี้แจงทีหลังก็ไม่ไหว  ทุกส่วนราชการที่มาขับเคลื่อนเลยต้องมีหัวข้อข่าวสาร ว่าท่านต้องมีความเข้าใจในประเด็นที่มีผลกระทบหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับพี่น้องประชาชน  ต้องทำประชาสัมพันธ์ไปก่อนนี่คือเรื่องที่สองที่เราทำ 

เช่นเราบอกว่าเราจะทำเรื่องเมืองต้นแบบขยายการลงทุนและสร้างรายได้รายครัวเรือน  เขาก็ไปตัดต่อว่าเราช่วยนายทุน ไอ้ตรงนี้ที่บอกว่าสร้างรายได้รายครัวเรือนเขาไม่เอาไปลง คนที่ทำโครงการนี้อยู่ต้องไปพูด  เรื่องที่ ๓ ช่วยได้ระดับหนึ่งคือทุกสัปดาห์เราต้องตั้งแถลงข่าวให้เป็นกิจจะลักษณะอะไรจะดีจะชั่วจะเป็นไปตามเวลาที่เรานัดหมายกัน  ฉะนั้นการกำหนดว่าจะมีการแถลงข่าวในรอบสัปดาห์ก็ช่วยให้คนคอยฟังและลดการบิดเบือนไปได้เช่นกัน  ตอนนี้เราทำอยู่ ๓ ส่วนในการป้องกันการบิดเบือนและเป็นมาตรการเชิงรุกในการสร้างความเข้าใจ

พิธีกร : ค่ะ มีคำถามเพิ่มเติมไหมคะ พี่น้องสื่อเดี๋ยวจะมีเข้ามาอีกบ้างไหมคะ ถ้าไม่มีเดี๋ยวคงต้องให้ในส่วนของท่าน ได้พูดคุยเพิ่มเติมถึงประเด็นการขับเคลื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการที่ส่งผลต่อความมั่นคงว่า กอ รมน ภาค ส่วนหน้า ได้พูดคุยเพิ่มเติมถึงโครงการอะไรบ้าง ที่จะดำเนินการในมิติของความมั่นคง ว่า กอ รมน ภาค ส่วนหน้า ได้ดำเนินการแล้วประสบผลสำเร็จหรือไม่อย่างไร เชิญคะ

พันเอกยุทธนาม เพชรม่วง : ครับ ก็อย่างที่เรียนให้ทราบตั้งแต่ตอนแรก ในภาพรวมจากการประเมิน สถานการณ์ดีขึ้นโดยลำดับครับ ผมคิดว่าสิ่งที่รัฐบาลส่งเสริมมา โดยเฉพาะเรื่องของโครงการสามเหลี่ยมเศรษฐกิจบนต้นแบบมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน น่าจะเป็นคำตอบของการเกิดสันติสุขอย่างยั่งยืนในการนี้ พลโทปิยวัฒน์ นาควานิช ก็ได้กำชับทุกภาค

ส่วนสนับสนุนเรื่องต่าง ๆ เรามีโครงการอุดหนุนด้านเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมเรื่องของเมืองต้นแบบที่คิดว่าเป็นโครงการสำคัญ โครงการที่บูรนาการร่วมกับ ศอบต. กรมต่างๆ เมื่อกี้ที่พี่บอกว่าการเป็นอยู่ดีขึ้น ผมคิดถึงเรื่องเหล่านี้นะครับ เชื่อได้ว่าเรื่องการส่งเสริมเศรษฐกิจของรัฐบาล และเรื่องของการส่งเสริมเศรษฐกิจของท่านแม่ทัพ

ยกตัวอย่างเช่น การส่งเสริมเรื่องปลาพวงชมพูหรือปลาซือเลาะ เรื่องของการสร้างหมู่บ้านไก่เบตง  หรือโครงการเมกะโปรเจคต์การส่งเสริมเรื่องสนามบินเบตง การขยายสนามบินบ่อทอง ที่ท่านแม่ทัพได้พยายามจะขยายโดยร่วมกับทุกภาคส่วน ทางพี่ไกรสรก็บูรณาการงบประมาณมาช่วย ผมเชื่อว่าสิ่งเหล่านี้นอกจากสร้างความอยู่ดีแล้ว ยังเป็นการสร้างความเข้าใจว่ารัฐบาลไม่ได้ทิ้งประชาชน

นอกจากนี้สิ่งที่จะเป็นไปในแนวทางที่ดีขึ้น คือโครงการพาคนกลับบ้าน การที่เราพัฒนา สร้างความเข้าใจ  สร้างความปลอดภัย  แสดงความเสียใจของรัฐ เนี่ย ทำให้ห้วงประมาณตั้งแต่ปี ๕๐ จนถึงปัจจุบันมีคนเข้าร่วมประมาณ ,๐๐๐ กว่าคน ที่จะเข้ามาร่วมกันพัฒนาชาติไทย ร่วมกันให้ข้อมูลข่าวสาร

เมื่อเดือนที่ผ่าน Set Zero คือว่าบุคคลเหล่านี้ถือว่าได้ผ่านกระบวนการแล้วมีการสร้างอาชีพ มีการทำความเข้าใจ ให้คืนสู่ครอบครัว ผมคิดว่านี่เป็นตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นว่า ผู้ที่ก่อความรุนแรงนั้น มีความอ่อนแรงลง ส่วนที่เหลือที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการกับเราแล้ว ท่านแม่ทัพก็ให้ดำเนินการต่อในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย ก็คือผู้ที่เคยเป็นโจร หรือผู้ที่เคยก่อการร้าย  ให้ประชาชนกลุ่มอื่นได้ทราบถึงโทษ

นอกจากนี้เรื่องของการสร้างความเข้าใจมีอีกมากมาย การเข้าสู่พิธีทางศาสนา เข้าไปชี้แจงในหลักศาสนาที่ถูกต้อง ที่เขาใช้บิดเบือนเยาวชนที่ไม่ถูกต้อง เราต้องไปสร้างความเข้าใจนะครับ ผมคิดว่าการบูรนาการร่วมกันของภาคประชาชน รวมถึงพวกเรา และพี่น้องสื่อมวลชน ที่เป็นสิ่งที่เป็นความจริงนะครับ สิ่งที่น้องว่าบิดเบือนควรทำความเข้าใจสิ่งนั้นให้มากขึ้น เกิดความร่วมมือร่วมในนะครับ ในครั้งนี่เราไม่ต้องการให้มีใครแพ้ชนะ เราต้องการให้ทุกคนอยู่กันอย่างมีความสุข ครับ

พิธีกร : คงจะต้องถามแทนสื่อว่า Set Zero ทำไม ทำเพื่ออะไร จะดำเนินการอย่างไร เดี๋ยวให้ท่านอธิบายให้สื่อมวลชนได้เข้าใจ ค่ะ

พันเอกยุทธนาม เพชรม่วง : โครงการพาคนกลับบ้าน เป็นโครงการให้คนที่เคยทำผิดได้มอบตัว ตั้งแต่ปี ๕๔ ที่ผ่านมา มีคนที่ร่วมกระบวนการนี้ประมาณ ๔,๐๐๐ คนเศษ หลังจากที่เข้ากระบวนการก็มีการอบรม ดำเนินการ เข้าใจพันธะทางกฎหมาย รวมถึงการสร้างงานสร้างอาชีพ สร้างเป็นกลุ่มอาชีพเพื่อที่จะได้มีงานทำ บางคนอาจจะไม่ได้กลับบ้านมานาน เมื่อเป็นแบบนี้ ท่านแม่ทัพ ท่านก็บอกว่า มีคนที่ผ่านกระบวนการจนสามารถคืนคนดีสู่สังคมได้ ๔,๐๐๐ คนเศษ มีอีกประมาณ ๙๐๐ กว่าคนที่ยังมีพันธะทางกฎหมายที่จะต้องดำเนินการต่อ


 ดังนั้นการ Set Zero แสดงให้เห็นว่า การที่จะคืนคนดีสู่สังคม ที่จะไม่ต้องพะวงกันเกิดขึ้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของโครงการนะครับ ท่านก็บอกว่าคนที่ยังเหลืออยู่ก็ต้องดำเนินการกันต่อไปครับ จนกระทั่งเป็นคนดีเกิดขึ้นในสังคมครับ 

 พิธีกร : พี่น้องฟังแล้วมีข้อสงสัยไหมคะ ถ้าไม่มีก็จะไปต่อค่ะ

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ : หลังจากที่ได้พูดถึงการพัฒนาเมืองต้นแบบนะครับ เราต้องขอบคุณท่านแม่ทัพภาคที่ ๔ นะครับ ท่านพยายามแนะนำตอนมีมติคณะรัฐมนตรี ให้ทำเมืองต้นแบบสามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน มี ๒ เรื่อง เรื่องที่ ๑ คือการขับเคลื่อนพัฒนา ๒ สร้างความปลอดภัยตามโครงการพัฒนานี้ จึงทำให้เห็นว่ามิติของการสร้างความปลอดภัย ทำให้เห็นจากแผนที่เราทำไว้แต่เดิมเฉพาะพื้นที่บางพื้นที่นั้น ท่านแม่ทัพคนนี้ได้ทำงานเชิงรุก เข้ามาสอดรับ

เมื่อก่อนนั้นเราถามว่าไก่เกิดก่อนไข่หรือยังไง ก็เหมือนกับว่าตกลงจะให้พัฒนาก่อนแล้วจึงปลอดภัย หรือปลอดภัยแล้วค่อยพัฒนา มาไขปัญหาโดยท่านแม่ทัพภาคที่ ๔ คนปัจจุบันนะครับ ท่านทำจนเห็นเป็นโครงการเมืองต้นแบบทั้งหมด หน่วยที่เป็นสายตรวจเมื่อก่อน ๓-๔ ชั่วโมงต่อหนึ่งรอบ ตอนนี้พอเป็นเมืองต้นแบบเลื่อนมาเป็น ๑-๒ ชั่วโมงต่อ ๑ รอบ จากที่ว่ามีจุดสกัด  ๓ จุด เพิ่มเป็น ๔ จุด  อันนี้คือแผนที่ขยับมาสอดรับกับเป็นเมืองต้นแบบ

ทีนี้เรื่องของเมืองต้นแบบ มีวัตถุประสงค์ของโครงการ ๓ เรื่อง หนึ่งเป็นการเปิดพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ สองขยายการลงทุนของผู้ประกอบการ สามเพิ่มรายได้ครัวเรือนให้เพิ่มขึ้น โครงการเมืองต้นแบบต้องไปสามเรื่องนี้ โดยโครงการที่ ๑ หนองจิกนี่เป็นโครงการต้นแบบการแปรรูปเกษตรกรรม เนื่องจากเราทีพื้นที่เกษตรกรรมเยอะแต่ไม่มีโรงงานแปรรูป ก็พยายามเอื้อให้เกิดการสอดรับกับการเปิดโรงงาน หนองจิกมีโรงงานน้ำมันปาล์ม ซึ่งทำให้สามารถเปิดโรงงานอื่นๆ ได้อีก ๔-๕ โรงงาน เราสามารถแปรรูปน้ำมันปาล์มได้ ผลิตเป็นไบโอดีเซลได้ และยังใช้มะพร้าวมาทำได้ด้วย อบผลไม้ก็อบได้ ดังนั้นอยากให้อุตสาหกรรมเหล่านี้ให้มาบรรจุ

ที่ผ่านมาเรามีปาล์มเป็นแสนไร่ แต่ว่าโรงงานมีงบนำเม็ดปาล์มเข้ามาสกัด ๙๐๐ ล้านบาท ๒๐๐  ล้านบาทใช้ซื้อปาล์มในพื้นที่ ๗๐๐ ล้านบาทซื้อจากพัทลุง สงขลา เนื่องจากพันธ์ปาล์มไม่ดี ไม่ค่อยมีลูก เพราะฉะนั้นเราต้องการปาล์มที่มีคุณภาพ รัฐบาลเลยต้องขยายพื้นที่ปลูกปาล์มให้ เอาพันธุ์ดี ๆ มาส่งเสริม ไป

ที่เบตงนั้นเป็นในเรื่องของการท่องเที่ยวแบบครบวงจร เป็นการพึ่งพาตนเองได้ เบตงเป็นที่เที่ยวที่ต่างประเทศรู้จักมากแล้วนะครับ แต่เขาก็ต้องการหนีความจำเจจากโรงแรม จากร้านอาหาร ไปสู่ไม้เมืองหนาว น้ำพุร้อน ไปสู่บุเฟ่ต์ทุเรียน ทะเลหมอก กว่าจะเป็นแบบนี้เขาต้องทำเป็นสกายวอล์ค สะพานแก้ว เดินไปหน้าผา เหมือนประเทศจีน ประเทศจีนเป็น ๒๐ เมตร แต่ที่เราจะสร้าง เป็น ๖๐ เมตร ๔๐ กิโล ต้องสร้างให้เสร็จภายในปี ๖๑ แล้วปี ๖๒ ๖๓ จะยาวกว่านี้อีก อันนี้คือที่เราไปต่อยอดให้เบตง

ส่วนที่เราจะไปพรุ่งนี้คือต้นแบบของการค้าชายแดน การค้าชายแดนมีอยู่แล้ว แต่จะยกระดับให้เป็นการค้าข้ามแดน ทำให้สามารถส่งสินค้าไปยังประเทศที่สามได้ ไปมาเลเซีย ไปสิงค์โปร เราต้องการยกระดับจากค้าชายแดน เป็นค้าข้ามแดน และสูงสุดคือการค้าระหว่างประเทศ

มีคนถามว่าทำไมการค้าระหว่างประเทศต้องมาจากการค้าชายแดน เพราะเวลาเราจะส่งสินค้าไปขายต่างประเทศไม่ใช่ส่งง่าย ๆ เราต้องมีใบยินยอมก่อน ส่วนมากแต่ละประเทศจะมี ต้องส่งสินค้ามาให้เรา ๕๐๐ ล้าน ถึงจะสั่งซื้อ ๕๐๐ ล้านได้ แต่พอเป็นการค้าชายแดนเนี่ย ถ้ามันติดตลาดขึ้นมาเนี่ย ที่นี่กำแพงถูกลดลงไป มันจะเป็นการค้าระหว่างประเทศได้ ไปที่นั่นท่านก็จะเห็นว่าจะเตรียมท่าขนส่งสินค้า สร้างเส้นทางการเชื่อมต่อการคมนาคมทั้งหมด สร้างศูนย์โอทอปที่จะโชว์ผลิตภัณฑ์ต่างๆ เตรียมอีเว้นท์ที่จะเรียกนักท่องเที่ยวมา เพราะฉะนั้นตรงนี้จะเป็นการเตรียมการค้าชายแดนของสุไหงโกลก ที่ท่านจะต้องไปเดินดู

พิธีกร : ตอนนี้การเตรียมการถึงไหนแล้วคะ งบประมาณมีหรือยังคะ

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ : งบประมาณ ชุดแรก ๕๐๐ ล้านบาท  โดยผู้แทนพิเศษของรัฐบาลครับ ของยะลาได้ทั้งหมด ๑๕๔ ล้านบาท ปัตตานี ๑๕๕ ล้านบาท นราธิวาส ๑๘๕ ล้านบาท ซึ่งจะมี ๔ กิจกรรมหลัก ๆ อันที่ ๑ เป็นการจัดอีเว้นท์ เพื่อเป็นการเชิญนักท่องเที่ยว ถ้าผมจำไม่ผิดเขาพึ่งจบไปเมื่อเดือนสิงหา ฯ นะ มีมวย มีบิ๊กไบค์ ทุกที่ เพราะบิ๊กไบค์มาครั้งหนึ่งประมาณ ๖,๐๐๐ คัน เป็นต่างประเทศประมาณ ,๐๐๐ กว่า ทำให้โรงแรมที่พักเต็มหมด เราลงทุนจัดงานแต่ละครั้งใช้เงินประมาณ ๕ ล้านบาท ได้เงินเข้ามาไม่น้อยกว่า ๓๐ ล้านบาท นี่คืองานที่เป็นอีเวนท์เราจะให้ ๖๐ กว่าล้านในปีนี้

เพราะฉะนั้นเราก็ไปสร้างงบโครงสร้างพื้นฐานเรื่องจอ LED เพระฉะนั้นใครมาสามารถเห็นจอ LED ขนาดยักษ์ ไม่รู้เขาซื้อหรือยัง ผมตั้งงบไว้ให้แล้ว เห็นภาพต่าง ๆ มีเวทีที่เป็นกิจกรรมต่าง ๆ เราไม่ทำเฉพาะสถานที่ เราก็ไปอุดหนุนสินค้าโอทอปต่าง ๆ ที่จะยกระดับดาวอีกประมาณ ๕๐-๘๐ ล้านบาท จากสองดาวจะขยับเป็นพรีเมี่ยม อาจจะไม่ใช่สามดาว ไปห้าดาวทีเดียว 

เพราะฉะนั้นทั้งสามจังหวัดจะมาเป็นเกรดพรีเมี่ยมการค้าชายแดน แค่นี้ยังไม่พอเรายังจะนำของดีจากชายแดนใต้ข้ามไปฝั่งมาเลเซีย บรูไน สิงค์โปร์  ก็จะมีการจัดอีเวนท์ของดีชายแดนใต้ออกไปอีก อันนี้เป็นการส่งเสริมเรื่องการค้าในพื้นที่ของจังหวัดชายแดนภาคใต้ครับ

พิธีกร : ฟังภาพบรรยากาศนี้แล้วสื่อหลายท่านคงจะไม่คิดว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้คงจะมีแบบนี้ใช่ไหมคะ อยากเห็นภาคสุไหงโกลกที่มีชาวบิ๊กไบค์มาเยอะมาก เชื่อไหมคะว่ามีโขนจากกรมศิลป์มาแสดง เป็นที่ประทับใจของนักท่องเที่ยวที่มาจากบรูไน มาเลย์ และสิงคโปร์ เป็นอย่างมาก พี่น้องมีอะไรจะสอบถามไหมคะ

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ : มีเรียนเพิ่มเติมนิดหนึ่งนะ โกลก เบตง เราดำเนินการอย่างนี้มาสองปีภายใต้รัฐบาล คสช.เนี่ย เมื่อสองปีที่แล้วเรานำงบนี้ไปตั้งไว้ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แต่ปีนี้ผู้แทนพิเศษเอามาตั้งให้ที่จังหวัดนราธิวาสเลย ช่วงสองปีที่เราทำงานเนี่ย ปฏิทินการท่องเที่ยวของโกลก กับเบตง บรรจุในปฏิทินการท่องเที่ยวของอาเซี่ยน และเอเชียแล้ว คือวันนี้เปิดปฏิทินท่องเที่ยวเอเชียขึ้นมา ตั้งแต่ญี่ปุ่น เกาหลีเนี่ย 

การจัดงานบิ๊กไบค์ของโกลก การจัดงานอีเวนท์ของเบตงเนี่ย ทั้งสองปีที่จัดมา ทำให้นักท่องเที่ยวได้ทราบกันดี เราจะยกระดับให้เป็นการท่องเที่ยวโลกในงานอีเวนท์ยุโรปครั้งหน้า เพื่อให้เห็นว่าวันนี้เราไปเชื่อมกับนักท่องเที่ยวที่ภูเก็ต บางทีทางภูเก็ตนั้นเขาคิดว่ามีเฉพาะฝั่งอันดามัน แต่ถ้าเขารู้ว่ามีแบบนี้ที่โกลก และเบตงเนี่ย คนจีนมาเลเซีย หรือต่าง ๆเนี่ย มาอยู่แล้ว เรามีฮอลแลนด์ นอรเวย์เนี่ยมาเป็นบิ๊กไบค์ ครั้งที่แล้วที่ภูเก็ตมาเป็นสองร้อยคัน แต่เป็นต่างประเทศหมด อันนี้ถ้าทำได้เราจะยกระดับไปจนถึงยุโรป วันนี้ระดับเอเชียเรามีในปฏิทินแล้ว

พิธีกร : ก็เรียกว่ามีกิจกรรมหลายอย่างมากมานะคะ เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เราให้พี่น้องสื่อมวลชนที่มาในวันนี้ นำไปประชาสัมพันธ์นะคะ ไปบอกคนทั้งประเทศ ว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่ได้มีแค่สถานการณ์รายวันที่เป็นข่าวเท่านั้น แต่สิ่งดี ๆ ในพื้นที่นั้นมีมากมายนะคะ

กอ.รมน.ภาค ๔ สน. ก็มี เรื่องหมูบ้านไก่ เคยได้ยินไหมคะพี่น้องสื่อ อยากให้ท่านรองโฆษกอธิบายนิดหนึ่ง ว่าหมู่บ้านปลาเกิดขึ้นได้อย่างไร และปลากือเลาะห์ที่มีราคาแพงที่สุดในประเทศไทย กิโลกรัมละ ,๐๐๐ กว่าบาท ถึงสองตัว ๑๐,๐๐๐บาทเนี่ย เลี้ยงที่ไหน อยากให้ท่านอธิบายค่ะ

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์   : ที่ทางรัฐบาลได้ส่งเสริมการสร้างเขตเศรษฐกิจหลักก็คือ มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ก็คือเป็นเมืองต้นแบบ เพื่อที่จะขยายต่อไป ผมคิดว่าเป็นเช่นนั้นนะครับ สร้างเมืองการค้าชายแดน ทั้งเมืองท่องเที่ยวชายแดน และด้านการเกษตรนะครับ ทีนี้ท่านแม่ทัก็ได้สนับสนุนนะครับ เพื่อที่จะฟื้นฟูศักยภาพของในแต่ละพื้นที่ ก็ได้ร่วมทั้งหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นเมื่อประมาณเดือนเศษ เราได้เปิดหมู่บ้านปลากือเลาะห์ หรือปลาพลวงชมพูครับ พี่น้องสื่อลองค้นดูนะครับ เรามีปลาที่ลุ่มแม่น้ำในเขตชายแดนภาคใต้ครับ เราจะทำให้เป็นพรีเมี่ยมก็คือปลาที่มีราคาแพง ตอนนี้ก็ราคาประมาณ ๒๕๐๐๓๐๐๐ บาท แต่เป็นปลาที่เลี้ยงต้องใช้เวลา ตอนนี้เปิดหมู่บ้านขึ้นที่อำเภอเบตงครับ เพื่อเป็นจุดที่คนมาต้องมาถาม

การเลี้ยงปลาจะเป็นกรปล่อยน้ำจากภูเขา แล้วก็มีเป็นบ่อ คือไม่ต้องใช้น้ำจากแหล่งน้ำ เราใช้น้ำจากภูเขาเลี้ยงปลาพลวงชมพูครับ นอกจากนี้ไก่เบตงเป็นไก่ที่มีชื่อเสียง เป็นซิกเนเจอร์ของเบตงเนี่ย เราก็ทำเป็นหมู่บ้านไก่เบตง มีการเลี้ยงและพัฒนาไปสู่สินค้าในอนาคตนะครับ เป็นอีกมิติหนึ่งของจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่อยากให้ท่านสื่อมวลชนได้ลองหาข้อมูลดูนะครับ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เรามีข้อดีเยอะมากครับ เบตงไม่เคยมีเหตุรุนแรงครับ มีก็มีน้อยมาก เพราะพี่น้องภาคประชาชนในเบตงมีกำลังที่เข้มแข็ง ถ้ายังสามารถรักษาสิ่งที่มีอยู่ รักษาความเป็นเมืองเศรษฐกิจอยู่ผมเชื่อว่าถ้าทุกส่วนเข้มแข็งเนี่ย เมืองต้นแบบเหล่านี้จะเป็นเมืองเศรษฐกิจที่ยั่งยืนครับ

พิธีกร : ฟังเรื่องเมืองต้นแบบทั้งสามเมืองนะคะ ทั้งหนองจิก สุไหงโกลก และเบตงนะคะ ใครเคยลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้บ้างไหมคะพี่น้องสื่อ เป็นอย่างไรบ้างคะ อยากให้มีการพัฒนาพื้นที่อย่างไร เชิญเลยค่ะ

สื่อมวลชน : อยากถามเพิ่มค่ะ อย่างเช่นปลากือเลาะห์ อยากทราบว่าการขายเป็นนอย่างไรให้มีราคาค่ะ ทำไมถึงได้รับความนิยม เอาไปทำเป็นอะไรค่ะ

พิธีกร : เชิญท่านรองโฆษกพูดก่อนค่ะ

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ : ผมคิดว่ามันหาง่ายนะครับจุดขายของสินค้าต่างๆ ต้องมีเรื่องราวพอสมควร ถูกไหมครับ เหมือนในประเทศญี่ปุ่นมีเนื้อโกเบ ก็มีเรื่องราว ตอนนี้ปลากือเลาะห์เนี่ยชาวมาเลเซีย หรือชาวสิงคโปร์จะนิยมมารับประทาน มีเรื่องราวคือเกิดจากลุ่มน้ำบาลาฮาลา คล้ายกับปลามังกร แต่ทานได้ทั้งเกล็ด และมีเนื้อที่อร่อยมาก แต่ด้วยการเลี้ยงและขยายพันธุ์ที่ยาก ก็จะเป็นเรื่องราวหนึ่งที่ทำให้ปลามีคุณค่า 

แต่สิ่งที่เราจะต้องช่วยกัน คือเรื่องการประชาสัมพันธ์และการส่งเสริม ทำให้ปลาเป็นซิกเนเจอร์และมีเรื่องราวมากขึ้น เพราะฉะนั้นที่นักท่องเที่ยวนิยมก็เพราะรสชาติที่อร่อย ความมีเรื่องราว และความหายากของปลา ในอนาคตอีกไม่นานเชื่อว่าก็จะเป็นพรีเมี่ยมของสินค้าที่ต่างชาติมาจะต้องมาชิมครับ

พิธีกร : อธิบายนิดหนึ่งค่ะ เนื่องจากว่าปลากือเลาะห์เป็นปลาจากธรรมชาติ ถิ่นกำเนิดที่ชายแดนภาคใต้ แม่น้ำสายบุรี มีศรีสาคร สุคีริน ที่ไหนที่เป็นแหล่งต้นน้ำของแม่น้ำสายบุรีปลาดุลเลาะห์ก็จะไปอยู่ แล้วเขาก็จะวางไข่ที่ปลายน้ำ แถวศรีสาคร แถวรือเสาะ แต่พอโตเขาจะไปอยู่ที่สุคีรินก่อน แล้วก็จะไหลตามน้ำมา ปลานี้เป็นปลาที่ขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ ในอดีตที่ผ่านมาไม่สามารถจะผสมพันธุ์ปลาได้ 

หลังจากสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถได้เสร็จมาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พระองค์ท่านได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญ โปรดให้กรมประมงหาแนวทางผสมพันธุ์ให้ได้ และพระองค์ท่านพระราชทานนามว่าเป็นปลาพลวงชมพู ให้เป็นภาษาราชการนะคะ แต่ปลากือเลาะห์เนี่ยเป็นภาษาถิ่นที่พี่น้องในพื้นที่ใช้เรียกกัน

 และตรงนี้ในส่วนของ สำนักงานประมงน้ำจืดจังหวัดยะลาสามารถขยายพันธ์ปลาคือปลาพลวงชมพูนี้ได้  และท่านแม่ทัพก็เอาไปปล่อย ศูนย์ส่งเสริมให้ไปจับพันธุ์ปลาจากธรรมชาติและเอามาผสมเทียม  ทำให้มีพันธุ์ปลากือเลาะห์ แล้วจัดตั้งกลุ่มขึ้นที่อำเภอเบตงจังหวัดยะลา ที่บ่อน้ำร้อน  ตำบลไอยาเวง  จังหวัดยะลา  ตอนนี้มีกลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมกลุ่มประมาณ ๒๐๐ คน  และทางประมงน้ำจืดได้ขยายพันธุ์ปลาเหล่านี้แจกจ่ายไปยังพื้นที่ 

ทำไมปลากือเลาะห์จึงแพง  หนึ่งเลี้ยงยาก  หนึ่งกิโลเวลาเลี้ยงประมาณสามปี  ทำไมสนนราคาต้องเป็นกิโลละ ๓,๐๐๐  เพราะค่าเลี้ยงปีละ ๑,๐๐๐ และไม่สามารถเลี้ยงเขาโดยลำพังได้ เขากินอาหารเป็นเม็ดไม่เป็น ต้องมีพี่เลี้ยงก็คือปลาอย่างอื่น   เลี้ยงคู่กับปลาจีนหรือปลาปลาตะเพียน   เพื่อเป็นการฝึกให้ปลากือเลาะห์กินอาหารเม็ดได้เมื่อฝึกได้แล้วจับแยกขยายบ่อไป   

พอขยายบ่อเฉพาะปลากือเลาะห์แล้ว ถ้าเราจะไปดูงานต้องแจ้งล่วงหน้า  เขาต้องจัดปลาฮือเลาะมาวางอยู่ในตู้ หรือในถัง หรือในกะละมังที่จะโชว์ก่อน ล่วงหน้าอย่างน้อย  ๑-๒ วัน  เพราะถ้าไปจับเขาปุ๊ป ไปถึงปุ๊ปลงลงจับเขาเลย  เขาจะไม่กินอาหาร แล้วเขาก็จะตาย เป็นปลา ที่ต้องทะนุถนอมในการเลี้ยงและรสชาติอร่อยมากคะ  เกล็ดก็นุ่ม กินได้ตั้งแต่เกล็ดเลยค่ะ ส่วนใหญ่ก็เอามาทอดหรือเอามานึ่ง  คนไทยไม่ค่อยได้กินเพราะมันแพง

ตอนนี้กลุ่มเกษตรกรที่เขาเลี้ยงอยู่  ๒๐๐ กว่าตัว  ตอนนี้ถูกจองหมดแล้วโดยนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงค์โปร์ คือจองปีนี้น้ำหนักมันกิโลกว่ายังไม่กิน แต่จะกินปีหน้าสองกิโลกว่า ตัวหนึ่งก็จะอยู่ประมาณ ๗-๘ พันบาท  ถ้าสามารถเลี้ยงให้ตัวใหญ่กว่านั้น ตัวหนึ่งเป็นหมื่นก็มีค่ะ  แต่ถ้าเป็นปลาธรรมชาติขายได้กิโลกรัมละ ๑,๕๐๐ บาท  เพราะปลามันตายแล้ว  แต่ถ้าเพิ่งเป็น ๆ จากบ่อเกษตรกร ขายกิโลกรัมละ ๓,๐๐๐  ถ้าตายแล้วหายากค่ะ

ก็คือว่ากว่าจะได้ต้องรอลงมาเอง ในร่องน้ำที่มีกระแสน้ำผ่านตลอดเวลา  เขาเลี้ยงในกระแสน้ำนิ่งไม่ได้คะ จะตาย  ออกซิเจนขาดไม่ได้ปลาก็จะตาย  เพราะฉะนั้นต้องให้น้ำหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา ลักษณะคือจากด้านบนไหลเวียนมาสู่ด้านล่าง  เลี้ยงอยู่เชิงภูเขานะคะให้ปลาไหลเวียนลงมาเขาถึงจะมีชีวิตรอด  คือคนไทยบอกว่าไม่ค่อยได้กิน ตอนนี้ปลาทั้งหมดที่เลี้ยงที่ทางประมงเก็บจ่ายให้กับเกษตรกรเนี่ย กลุ่มละ ๒๐๐ ตัว  

ตอนนี้เริ่มจะแจกจ่าย เพราะว่าเวลาเพาะพันธุ์มันก็ได้น้อย  แต่ที่คุยกับประมงจังหวัดนะคะ  ปีหน้าเราจะทำแนวใหม่ ว่าผสมพันธุ์แล้วก็คืนสู่ธรรมชาติ ส่วนหนึ่งให้มันเข้าสู่ระบบของธรรมชาติ  ให้มันโตได้ง่ายกว่า หากินตามธรรมชาติจะง่ายกว่า แล้วเกษตรกรก็จะทำเหมือนฤดูไหนจับได้  ฤดูไหนจับไม่ได้ ก็จะทำเป็นประเพณีออกมา  ซึ่งตอนนี้ก็มีแล้วที่ศรีสาครนะคะ เป็นวันจับปลากือเลาะห์  ซึ่งคนที่จับได้หนึ่งตัวเนี่ย ตัวจะใหญ่มากตามธรรมชาติประมาณ ๕ กิโลขึ้นไป  ตัวหนึ่งก็หมื่นกว่าบาท  นี่คือเรื่องราวที่มาของหมู่บ้านปลากือเลาะห์ค่ะ 

สื่อมวลชน : ที่บอกว่า ๑๕,๐๐๐ ปลาจือเลาะนี่ใช่ปลาตะพัดหรือเปล่า

พิธีกร : ไม่ใช่ค่ะ ปลาตะพัดหรือปลามังกรอีกแบบหนึ่ง  ต้นน้ำปลาตะพัดหรือปลามังกรที่รู้จักกันอยู่ที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลานะคะ ต้นกำเนิดอยู่ที่นั่น แต่ปลาพลวงชมพูหรือปลากือเลาะห์ต้นกำเนิดอยู่ที่แม่น้ำสายบุรีที่ศรีสาคร  ลักษณะใกล้เคียงกัน แต่ปลาพวงชมพูสีจะเป็นลักษณะชมพูคะ

สื่อมวลชน : ลักษณะจะคล้าย ๆ ปลาตะพัด ?   

พิธีกร : ไม่คล้ายค่ะ ปลาตะพัดหรือปลามังกรลักษณะจะเป็นยาว ๆ  ปลามังกรกับปลาตะพัดเหมือนกัน แต่ปลาตะพัดหางมันจะเป็นพวง ปลามังกรหางมันจะเรียว   เพราะว่าที่ใต้เขาจะเรียกปลาตะพัด

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ : คือปลากือเลาะห์ที่ทางสื่อพยายามจะถามว่าเหมือนกับปลาตะพัดไหม จริง ๆ แล้วเนื้อ ถ้าใครเคยทานเนื้อมันจะเหมือนปลาหิมะ กินได้ทั้งเกล็ด ทั้งก้างนะครับ เหตุที่กือเลาะห์ราคาแพงขึ้นมาเนี่ย เป็นเพราะหายาก เป็นที่นิยมของชนชั้นสูงตั้งแต่เชื้อพระวงศ์ในมาเลเซียเขาสั่ง แล้วก็รู้ว่าปลานี้เนี่ยมีแหล่งที่มาเดียวกันคือในแม่น้ำสายบุรี
  
แม่น้ำในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีอยู่ ๓ แม่น้ำ คือแม่น้ำสุไหงโกลก  แม่น้ำสายบุรี และแม่น้ำปัตตานี   แม่น้ำปัตตานีก็ไปทางเขื่อนบางลาง  แม่น้ำสุไหงโกลกก็ไปทางแม่น้ำสายบุรี ไหลผ่านทุกจังหวัด ต้นน้ำอยู่ที่อำเภอศรีสาคร อำเภอสุคีริน  ต้นน้ำของสายบุรีมันแปลกนิดหนึ่งก็คือว่ามันไม่ได้เกิดจากแหล่งน้ำใด มันเกิดจากร่องน้ำเล็ก ๆ ในแต่ละพื้นที่มารวมกัน เป็นแม่น้ำสายเดียวที่ยังไม่มีการบริหารจัดการน้ำ  อันเนื่องจากว่าไม่รู้จะตั้งใจจัดการแบบไหน เพราะว่ามันยาวมาก แล้วก็ยังไม่มีชลประทานไปตั้ง  มีแค่ว่าวัดระดับน้ำเท่านั้นเอง

เพราะฉะนั้นตรงนี้จะเป็นปลาธรรมชาติ ซึ่งข้อที่มันแพงอีกอย่างคือ น้ำต้องไหลตลอดเวลา แล้วก็วางไข่ที่หนึ่ง ต้องไปโตอีกที่หนึ่ง วันนี้เราเพิ่งได้นักวิชาการที่สามารถผสมพันธุ์ รู้สึกจะมีอยู่คนเดียว ได้แล้วก็ลงมือทำอยู่ แล้วก็เริ่มขยายพันธุ์ ฉะนั้นพอขยายเสร็จแล้วแหล่งน้ำที่จะต้องเลี้ยงปลา จะต้องทำเป็นเหมือนกับชั้นน้ำตก  ถ้าใครไปที่เบตง จะเห็นว่าเราจะมีทำเป็นน้ำตกไหลเป็นชั้น ๆ 

แล้วก็อย่างที่บอกนะครับ ว่าปกติเขาจะกินตามธรรมชาติของเขา ถ้าปล่อยให้เขาโตตามธรรมชาติ กินสาหร่ายเนี่ย  ผ่านไปสิบปีไม่รู้ว่าจะได้สักกิโลไหม ทีนี้ก็เหมือนกับว่าใช้วิชาการเข้าไปช่วย ฝึกให้เขากินอาหาร  นำปลาสวายปลาตะเพียนเข้ามาเลี้ยงร่วม แล้วก็ส่งอาหารเม็ดเข้าไป  ตอนนี้คือทดลองมาประมาณสองปี พอได้ระดับหนึ่ง  ปีหนึ่งเรามีผลผลิตแค่ประมาณ ๕๐๐ กิโล  แต่ว่าพยายามจะรักษามาตรฐานคงไม่ทำมากเพื่อให้มีออเดอร์ ตลาดจริง ๆ มาเลเซียจองหมด พอเขารู้ว่ากือเลาะห์มีที่ไหน จะรีบมาชี้ตัว สั่งจองข้ามปี  อันนี้คือสิ่งที่พิเศษสำหรับหมู่บ้านปลา 

พิธีกร : เขาบอกว่ากินปลานี้แล้วจะมีความโชคดีเป็นความเชื่อของคนมาเลเซีย  คนสิงค์โปร์คะ

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ : คือตอนนี้พูดตรง ๆ ว่ามันเป็นรสชาติเฉพาะของมัน มันไม่มีกลิ่นเหม็น กลิ่นคาว   คือถ้าใครเคยทานปลาหิมะ คล้าย ๆ แบบนั้น แต่ปลาหิมะมันอยู่ในมหาสมุทร ทะเลลึก อันนี้ของเราเป็นน้ำจืด แต่ได้มาใกล้เคียงอย่างนั้น

พิธีกร : ตัวมันจะสวยมากเลยค่ะ ถ้าเห็นตัวนะคะ จะไม่อยากกิน เนื้อสวยมากสีชมพูนวล ลักษณะรูปทรงจะคล้าย ๆ ปลาตะเพียน สวยแล้วดูนุ่มนวล คือสวยค่ะ

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ : คือผมว่าหลายคนอาจจะเคยเห็นอยู่ ตามน้ำตกหลายที่แต่ตัวไม่ใหญ่ เป็นตัวเล็ก ๆ เพราะว่าเขาจะรวดเร็วมาก เขาโผล่มาแล้วว่ายไป คือจับยากมาก แต่นี้เริ่มมาทำการเลี้ยง เริ่มมาทำบ่อ เราจะเห็นตัวใหญ่ ๆ ออกมา เพราะฉะนั้นของศรีสาครในฤดูกาลท่องเที่ยวที่เราสามารถจัดงานคล้าย ๆ เป็นรถยนต์  เป็นรถโชว์ มาเป็น ๕๐๐ คัน   จริง ๆ แล้วเขาอยากจะมาค้นหาปลาฮือเลาะห์ เราจัดมาเป็นปีที่ ๒๐ กว่า 

พิธีกร : ใช่ค่ะ ออฟโรดมาจากมาเลเซียนะคะ  มาจากทางสิงค์โปมาเลเซีย ตอนเขามาจะเป็นวันที่แบบว่าเขาจะลงไปหาปลากือเลาะห์ตามธรรมชาติ โดยใช้ฉมวกลงไป แต่ก็ไม่ได้เยอะนะคะ กว่ามันจะโตต้องใช้เวลานานมากค่ะ เหมือนคราวที่แล้วเมื่อเดือนมีนาคม สื่อส่วนกลาง ส่วนหน้า ทหารก็ลงมา  แล้วพาไปเดินที่ป่าบาลาฮาลา  เพราะต้นกำเนิดปลากือเลาะห์อยู่ที่ป่าฮาลาบาลา  เดินเข้าไปในป่า เดินเท้าประมาณ ๒-๓ชั่วโมง  ก็ไปเจอตรงต้นน้ำเลยค่ะ  ไปเจอต้นน้ำ ได้มาวันนั้น ๓-๔ ตัว  เก็บเอามา แล้วเอามาขยายพันธุ์ ต้องเดินเข้าไปหาลึกมาก กว่าจะได้สายพันธุ์มา ทำให้มีราคาที่แพงนะคะ

เดี๋ยวจะให้ลองเปิดตัวอย่างให้ดูปลากือเลาะห์  มันจะเป็นสีชมพูเกร็ดก็จะเป็นประมาณออกชมพูกลีบบัว สวย ๆ ค่ะ คล้าย ๆ กับปลาทางภาคเหนือที่เขาเลี้ยง มีอยู่ชนิดหนึ่ง  ปลาเค้าค่ะ ตอนนี้สื่อมีใครสนใจปลาอย่างอื่นไหมคะ ตอนนี้ดูเหมือนทุกคนจะสนใจปลากือเลาะห์หมด หมู่บ้านปลากือเลาะห์ก็ต้องสนใจปลากือเลาะห์   มีใครสนใจปลาอย่างอื่นไหมคะ  

มาพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อยากรู้เรื่องอะไร อยากจะสอบถามเรื่องอะไร ถามเข้ามาได้เลยนะคะ  เดี๋ยวพิธีกรนำถาม เสียเวลาถามหมด ถามคุณอาหะมะก็ได้ค่ะ ว่าทำงานในพื้นที่ภาคประชาชนเนี่ยทำงานอย่างไร  อ๋อ ได้ค่ะขอไปสัมภาษณ์ด้านล่างใช่ไหมคะ  

ท่านอื่นมีประเด็นอะไรอยากจะพูดคุยไหมคะมีมั้ยคะน้องยังนึกไม่ออกใช่ไหมคะ   เอาเป็นว่าในระหว่างที่ยังนึกไม่ออกเดี๋ยวจะให้ทางท่านรองไกรสรเนี่ยนะคะ พูดคุยประเด็นในมิติของการแก้ปัญหา การขับเคลื่อนการพัฒนาประสิทธิภาพชายแดนภาคใต้ในมิติอื่น ๆ  ให้น้อง ๆ ที่ลงมาได้รับทราบว่าทางราชการเองเราทำงานยังไงเราเดินหน้าอย่างไร  พัฒนาไปสู่ไทยแลนด์ ๔.๐ ได้หรือไม่อย่างไร เชิญค่ะ 

ไกรศร วิศิษฎ์วงศ์  : คือเอาล่าสุดวันนี้เรามีแผนปี ๖๐ เนี่ยที่ลงทุนเกือบ ๒,๐๐๐ ล้าน ขับเคลื่อนทุกภารกิจ ล่าสุดผู้แทนพิเศษของรัฐบาลได้เสนอเป็นคำแนะนำ ให้ส่วนของราชการของบกลางมาทั้งหมด ประมาณ ๖ โครงการ มันก็ประมาณ ๕๐๐ กว่าล้านบาท ในเรื่องของชุดคุ้มครอง ตำรวจ อันนี้คือเพื่อมาช่วยกันเสริมกองกำลังหลักนะครับ จะสร้างสมรรถนะของกองกำลังระดับเขตและกองกำลังภาคเหนือส่วน

ในระดับตำบลนะครับ จะมีเรื่องของโครงการจิตอาสายาลาฮันบารู จะให้มีจิตอาสาอยู่ในหมู่บ้าน  ทำเรื่องของยาเสพติด อันนี้ส่วนที่หนึ่งนะครับ  ส่วนที่สองจะเป็นในเรื่องของทำแพขนานยนต์ที่ข้ามระหว่างตากใบกับมาเลเซีย เปลี่ยนเป็นใช้เป็นแพบ้าง ของมาเลเซียก็ทำ ของเราก็ทำ เขาก็ให้งบประมาณมาส่วนหนึ่ง

 แต่โครงการที่สำคัญของ สกต.  มีอยู่สองโครงการคือ โครงการที่หนึ่งคือโครงการพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน  โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการด้วยกันคือ ๑ ต้องการไปสร้างความเข้มแข็งของคณะกรรมการหมู่บ้านที่มีอยู่แล้ว แต่ว่าต้องการให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น  ประการที่ ๒ อย่างจะให้เป็นแผนชุมชน เขาเรียกว่าแผนพัฒนาชุมชนแบบที่มาร์คบอกว่าแผนของชาวบ้าน คุยกันวันนี้ พรุ่งนี้จะให้เห็นภาพ ไม่ใช่ให้เข้าคิวอีก ๕ ปีนะครับ  เรากำลังจะขับเคลื่อนตรงนี้ลงไป พร้อมกับว่าเมื่อขับเคลื่อนแผนเสร็จแล้ว เราให้ทำโครงการนำร่องเลย จะมีเงินไปให้หมู่บ้านละ ๔๐๐,๐๐๐ บาท  เราจะนำร่องทั้งหมด ๔๐ หมู่บ้านใน ๓๓ อำเภอ  อำเภอละ ๑  และมีบางอำเภอ ๒ โครงการ  อันนี้คือโครงการที่หนึ่งเรียกว่าโครงการพัฒนาหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็งมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืน

โครงการที่ ๒ เป็นมิติใหม่ที่ท่านนายกรัฐมนตรีอยากเห็นภาพของการขับเคลื่อนประชารัฐ คือการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐภาคประชาสังคม  ภาคเอกชน  และภาคประชาชน  จับมือกันได้ คือภาคประชาสังคมวันนี้เขาอยากจะทำงานแบบเจ้าหน้าที่รัฐ แต่เขาไม่มีงบประมาณ เป็นโอกาสแรกที่ผู้แทนพิเศษของรัฐบาลเสนอให้มีงบกลาง ขอลงมา  ๖๓ ล้านบาทเศษ  ๕๐ ล้านบาท  ไว้อุดหนุนให้ภาคประชาสังคมที่จะมามาส่วนร่วมในการแก้ปัญหากับเจ้าหน้าที่รัฐ

ฉะนั้นเราจะมีองค์กรภาคประชาสังคมเข้ามาประมาณ ๕๐ องค์กรเป็นอย่างน้อย เราตั้งเป้าไว้อาจจะถึง ๗๐-๘๐ เพื่อใช้เงินอุดหนุนในการขับเคลื่อนร่วมกัน แก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ ทีนี้เราจะเห็นว่าการทำงานในชายแดนภาคใต้นั้นไม่ใช่แค่เจ้าหน้าที่ภาครัฐแล้วมีงบประมาณให้ภาคประชาชนมาทำงานด้วย  ภาคประชาสังคมบอกว่าไม่ยุติธรรม  อยากจะสร้างความยุติธรรมให้เข้าใจเขา ก็ใช้งบประมาณตรงนี้  

ภาคประชาชนบอกว่ารัฐบาลจะขับเคลื่อนสร้างความเข้าใจได้ไหม ความเข้าใจไม่ทั่วถึง เดี๋ยวภาคประชาสังคมจะไปขับเคลื่อนให้ความเข้าใจเขาจะรับส่วนนี้ไปทำ เขาจะมองว่าภาคประชาสังคมในพื้นที่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ต้องมีการเรียนรู้มากกว่านี้ เขาก็จะไปฝึกอบรมให้ภาคประชาสังคมมีความเข้มแข็ง 

บางคนมองว่าการพูดคุยสันติสุข บางทีรัฐบาลก็พูดในทางลับบ้าง ทางเปิดบ้าง ฟังแล้วชาวบ้านไม่ค่อยเข้าใจ  เราจะมีภาคประชาสังคมบางส่วน อย่างเช่นเบอมัด มองว่าขับเคลื่อนแล้วแนวต่อต้านรัฐ พอเราบอกว่าเรามีงานอย่างนี้ให้ทำเอามั้ย  เขาสนใจไหม เขาก็เข้ามามีส่วนร่วมในส่วนที่เป็นเรื่องของกลุ่มของการพูดคุยสมัชชาชายแดนใต้ ก็เข้ามามีส่วนร่วมเสนอ  เพื่อไปสร้างการมีส่วนร่วมตามนโยบายของรัฐบาลนะครับ
 
อันนี้เราเตรียมให้ไว้ประมาณ ๕๐ ล้านบาท  เป็นเงินอุดหนุนขับเคลื่อนโครงการประมาณ ๑๓ ล้านบาท  สำหรับจัดทีมวิทยากร จัดการฝึกอบรม  เราจะประเมินติดตามผลแล้วก็แถลงผลงานต่าง ๆ แล้วก็รวมเป็นรูปเล่มเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ให้เห็น ว่าเป็นครั้งแรกของการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐบาลกับภาคประชาสังคมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  ซึ่งในวันที่ ๑๓ ๑๔ จะมีการประชุมภาคประชาสังคมในภาคใต้ส่วนใหญ่  วันนี้คนที่ทำงานในภาคใต้ที่เป็นภาคประชาสังคมมีทั้งหมด ๕๒๑ องค์กร  รับเงินต่างประเทศอยู่ที่ ๗๔-๗๕ องค์กร  มีทั้งที่ว่าเห็นด้วยกับรัฐ ไม่เห็นด้วยกับรัฐ 

วันนี้เราอยากจะสร้างการมีส่วนร่วมมีพื้นที่ให้มีเป้าหมายให้มาทำงานในการแก้ปัญหาภาคใต้ด้วยกันโดยมีงบประมาณอุดหนุนให้นะครับ  นี่คือสิ่งที่เรากำลังจะดำเนินการในระยะเร็วๆนี้ครับ

พิธีกร : วันนี้ก็ถือว่าท่านก็พูดชัดเจนในทุกประเด็นที่จะให้พี่น้องสื่อช่วยกันขยายผลในเรื่องของการสร้างความเข้าใจกับพื้นที่ กับปัญหาต่าง ๆ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  ท่านพันเอกมีอะไรจะฝากถึงพี่น้องสื่อไหมคะ เชิญคะ

พันเอกยุทธนาม เพชรม่วง : ก็คงจะขอความร่วมมือพี่น้องสื่อในการนำเสนอสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนสิ่งที่คิดว่าเป็นการบิดเบือน สร้างความไม่เข้าใจให้เกิดขึ้น ผมเชื่อว่าทิศทางหรือสถานการณ์จะดีขึ้นเป็นลำดับ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งเป็นขั้นที่ ๓ ในการแก้ปัญหา เรามีการเสริมกำลังของทั้งเจ้าหน้าที่ อส. ตำรวจ ภาคประชาสังคม  กำลังทำให้ประชาชนให้เกิดความเข้มแข็ง เพื่อจะได้ลดกำลังทหารหลัก  ตลอดจนในการเสริมเรื่องของสร้างความมั่นใจในการพัฒนาเศรษฐกิจ ตัวชี้วัดที่สำคัญก็คือการที่มีการใช้ชีวิตที่ปกติดีขึ้น หรือการที่จะมีสถานการณ์ไม่ดีที่ลดลง

เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือว่า  ขอความร่วมมือจากสื่อ เราต้องเอาภาพดี ๆ เพื่อมากลบสิ่งที่ไม่ดี ให้คนที่จะทำให้รู้สึกอายว่าเนี่ย  อย่างที่พี่ไกรสรบอก เราจะพัฒนาจริง ๆ แล้วคุณมาวางระเบิด เราต้องช่วยกันประณามครับ  ไอ้ความคิดเหล่านี้เป็นความคิดที่ไม่เกิดประโยชน์ ผมเชื่อว่าพลังอำนาจของสื่อมวลชนมีสูงมากในยุคปัจจุบันนะครับ ก็ขอความร่วมมือหากท่านได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่ถูกต้อง หรือคิดว่ามันน่าจะไม่ใช่หรือทำให้เกิดความแตกแยก ท่านสอบถามส่วนที่เกี่ยวข้องนะครับ เพื่อจะได้ช่วยกันให้เกิดสังคมที่ยั่งยืน

พิธีกร : ค่ะเชิญท่านอาหะมะคะ

อาหะมะ ลีเฮ็ง :  คือมีหน้าที่ พรุ่งนี้พอดี ที่อำเภอยี่งอ เราใช้เครื่องมือตัวละล้านกว่ามาจับสัญญาณดาวเทียม เราให้ชาวบ้านใช้ ผมคิดว่าเป็นเทคโนโลยีที่สูงที่สุดที่ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องที่ดินในประเทศไทย ใช้ที่เขาบูโด เพราะประชารัฐคือรัฐร่วมกับชาวบ้าน

พิธีกร : อยากฝากอะไรถึงพี่น้องสื่อมวลชนถึงสถานการณ์ในบ้านเมืองเราบ้าง  อยากให้พี่น้องสื่อมวลชนช่วยเหลืออะไรให้คนภายนอกมองจังหวัดชายแดนภาคใต้ในมิติหนึ่งของสถานการณ์ความรุนแรงคะ 

 อาหะมะ ลีเฮ็ง : คือถ้าพูดถึงสถานการณ์ ๓ จังหวัด ถ้ารายงานข่าวก็อยากให้รายงานทั้งสองด้าน ด้านบวกก็มีเยอะ คือมันไม่ใช่พื้นที่น่ากลัวมากที่สุดอย่างเช่นผมได้ยิน พอได้มาสัมผัสได้มาอยู่ร่วมกันกับพี่น้องเขาอยู่แล้วมีความสุข น่ารัก คือมุมมองที่ดีที่มีความผูกพันก็มีเยอะ

พิธีกร : ค่ะ นะคะ ก็คิดว่าวันนี้เวลา ๒ ชั่วโมง ๓๐ นาที ที่เราได้พูดคุยในประเด็นของการสร้างความเข้าใจของชายแดนภาคใต้ของทั้งมิติของทางรัฐบาลเอง  มิติของรัฐบาล  ครม. ส่วนกลาง และศอบต.  ตลอดจนภาคประชาชนที่เรามาช่วยกัน ที่จะขับเคลื่อนในเรื่องของการแก้ปัญหา นำไปสู้การยุติสถานการณ์ความรุนแรง และให้จังหวัดชายแดนภาคใต้สู่สันติสุขที่ยั่งยืน 

ช่วงสุดท้ายนี้ มีพี่น้องสื่อท่านใดอยากจะสอบถามหรือว่าอยากจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมไหมคะ มีอีกไหมคะ ก็ถ้าไม่มีนะคะ ดิฉันสุนิสา รามแก้ว  พร้อมด้วยท่านวิทยากรทั้ง ๓ ท่าน ประกอบด้วยท่านไกรสร  วิสิทวงศ์  รองเลขาการณ์ ศอบต ท่านเผด็จ เพชรม่วง หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ ครมน กอง ภาคที่ ๔ ส่วนหน้า  และโฆษก กรมน กองภาคที่ ๔ ส่วนหน้า  ท่านรองโฆษก คุณอาหะมะ  เครือข่ายการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่ดินบูโด 

คงจะต้องขอจบการสนทนาในหัวข้อการสร้างความเข้าใจนโยบายการแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้แต่เพียงเท่านี้ หลังจากนี้ถ้าท่านอยากจะสัมภาษณ์ทั้ง ๓ ท่านยินดีจะให้ข้อมูลนะคะ