ภาคภูมิ น้อยวัฒน์...รายงาน
กรมศิลปากรดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยโบราณคดีบ้านเชียง (Ban Chiang Archaeological Research Center) ขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ โดยได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารระยะแรกมาตั้งแต่ปีพ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อใช้เป็นสถานที่รวบรวม จัดเก็บโบราณวัตถุในวัฒนธรรมบ้านเชียงและโบราณวัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์ร่วมสมัยวัฒนธรรมบ้านเชียงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดยจะมีการบริหารจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ เพื่อให้บริการทางการศึกษาสำหรับนักวิจัยหรือนักวิชาการด้านโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งจะช่วยบ่มเพาะและพัฒนานักวิชาการให้มีความรู้และสามารถนำองค์ความรู้ไปส่งเสริมการพัฒนาประเทศ
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ตำบลบ้านเชียง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
เป็นแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ที่แสดงให้เห็นถึงหลักฐานการตั้งถิ่นฐานของชุมชนเกษตรกรรม และภูมิปัญญา -ด้านโลหกรรมของมนุษย์เมื่อราว
๔,๓๐๐ ปีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ยังมีแหล่งโบราณคดีในวัฒนธรรมบ้านเชียงกระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยอีกกว่าร้อยแหล่ง
ความโดดเด่นและความสำคัญของแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
ทำให้ แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงได้รับการประกาศเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม ในปีพ.ศ. ๒๕๓๕
ด้วยคุณสมบัติตามเกณฑ์ข้อที่ ๓ คือ “เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือสาบสูญไปแล้ว”
จากการดำเนินงานทางโบราณคดีที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงตั้งแต่
พ.ศ. ๒๕๑๐ – พ.ศ. ๒๕๔๖
ได้พบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมากและมีการศึกษาวิจัยหลักฐานที่พบจากนักวิชาการหลากหลายสาขาวิชา
ทำให้องค์ความรู้เกี่ยวกับยุคก่อนประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะวัฒนธรรมบ้านเชียง เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
ใน พ.ศ. ๒๕๖๐ที่ผ่านมา
กรมศิลปากรยังได้รับคืนโบราณวัตถุที่ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๓ – พ.ศ. ๒๕๑๗
และโครงกระดูกมนุษย์ที่ได้จากการขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
โดยกรมศิลปากรร่วมกับมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๗ – พ.ศ. ๒๕๑๘
ตลอดจนโบราณวัตถุที่สถาบันวิจัยของต่างประเทศส่งกลับคืนมาอีกหลายรายการ
เพื่อนำมาเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง
ล่าสุดเมื่อวันศุกร์ที่
๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงวัฒนธรรม พร้อมด้วยนายประทีป
เพ็งตะโก
อธิบดีกรมศิลปากร ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม และกรมศิลปากร ได้เข้าเยี่ยมชมโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยโบราณคดีบ้านเชียง
และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างในระยะที่
๒ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ใน พ.ศ. ๒๕๖๖ ที่จะถึงนี้
No comments:
Post a Comment