Monday, September 18, 2017

โครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน


บันทึกการบรรยายสรุป "โครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" โดย นายปรีชา นวลน้อย นายอำเภอสุไหงโกลก ในการทัศนศึกษานำคณะสื่อมวลชนสู่จังหวัดนราธิวาสร่วมการเสวนา "สร้างความเข้าใจ นโยบายการแก้ไขปัญหา และสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้" ที่จังหวัดนราธิวาส  ระหว่างวันที่ ๙-๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา (ภาคภูมิ น้อยวัฒน์...บันทึกเสียงและถ่ายภาพ) 



นายอำเภอ:  ท่านนายกซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลต้องการให้สังคมไทยมีความมั่นคง เมื่อความมั่นคงเกิดขึ้นก็จะมีความมั่งคั่งกลับมา แล้วความมั่งคั่งทำอย่างไรให้มันยั่งยืน เพื่อไปสู่การพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นนโยบายที่ผมมองแล้วว่ามีทุกยุคทุกสมัยมา

ยุคนี้ผู้นำรัฐบาลมีเข็มทิศ มีแนวทางในการบริหารประเทศ ที่ผสานสอดคล้องกับเสถียรภาพ นโยบาย และการปฏิบัติ เลยกราบเรียนสื่อว่าสำหรับวันนี้อำเภอสุไหงโกลก ก็จะนำเสนอในบริบทให้ท่านสื่อมวลชนได้ทราบว่า ที่มาของคำว่า “เมืองต้นแบบ” เกิดขึ้นอย่างไร

แต่ก่อนจะพูดนั้นก็จะพูดถึงศักยภาพของจังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นจังหวัดชายแดนของภาคใต้ที่ติดกับประเทศมาเลเซียทางฝั่งภูเขาสันกาลาคีรี อำเภอแว้ง โดยมีแม่น้ำสุไหงโก-ลกเป็นแม่น้ำเขตแดนระหว่างประเทศ ที่ผ่านสุไหงโก-ลกแล้วมาไหลออกปากอ่าวไทย ที่อำเภอตากใบ ติดกับมาเลเซียทั้งภูเขา ทั้งแม่น้ำ ทั้งทะเล

สำหรับเขตแดนระหว่างประเทศ สุไหงโกลกเรามีนราธิวาสเรามีทั้งหมด ๓ ด่าน ซึ่งก็คือ ด่านตากใบ ด่านสุไหงโกลก ด่านบูเก๊ะตา ซึ่งเป็นด่านที่เปิดล่าสุด

บูเก๊ะตานะครับวันนี้ ซึ่งเราพัฒนาไปพอสมควรนะครับ ทางฝั่งมาเลเซียเขาพัฒนาไปได้เยอะมากแล้ว ส่วนไทยเรายังติดขัดเรื่องการก่อสร้าง เรื่องของความล่าช้าของระบบราชการครับ ที่ผมเคยไปทำไว้ มา ๓ ปี ไปเยี่ยมมาเลเซียนะครับ มาเลเซียก็ทำงบประมาณที่จะก่อสร้างขยายรองรับ เพราะว่าเส้นทางของจังหวัดต้องการให้ด่านบูเก๊ะตาเป็นด่านการขนส่งทั้งระบบครับ ต้องการให้ด่านสุไหงโกลกเป็นด่านการท่องเที่ยว ส่วนตากใบก็เป็นเกี่ยวกับการติดต่อขนส่งอื่น ๆ ระหว่างประเทศ

แล้วก็ศักยภาพของนราธิวาสเราได้เปรียบนะครับ การขนส่งเรามีทั้งทางบก คือรถไฟ จากกรุงเทพ ฯ มาสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นอำเภอที่มีรถไฟชายแดนใต้สุด เบตงเป็นอำเภอใต้สุดของประเทศไทยติดกับมาเลเซีย ส่วนสุไหงโก-ลกเป็นใต้สุดที่เรามีรถไฟไปถึงมาเลเซียเลยครับ สามารถต่อไปกัวลาลัมเปอร์ได้

แต่หลังจากเกิดน้ำท่วมใหญ่ที่มาเลเซียแล้ว รางรถไฟได้ขาดไป ยังไม่ได้รับการบูรณะซ่อมแซม ก็เลยไม่ทราบว่าการรถไฟที่มาเลเซียรัฐบาลไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วมมากแค่ไหน ตอนนี้ก็พยายามผลักดันให้มีทางรถไฟเชื่อมระหว่างประเทศกัน

ที่ที่สองเรามีการท่าเรือ เป็นท่าเรือน้ำลึกที่นราธิวาส เป็นท่าเรือขนส่งขนาดกลางที่สามารถส่งของไปยังประเทศอินโดนีเซียและสิงคโปร์ได้ ส่วนการขนส่งทางอากาศเรามีเที่ยวบินอยู่ ๓ ไฟลท์ครับ รอบเช้า เที่ยง เย็น ทุกวันนี้ครับ รอบเช้ามีเฉพาะวันศุกร์ กับวันอาทิตย์มีรอบเที่ยงและรอบบ่าย และนี่คือบริบทของจังหวัดนราธิวาสเรื่องการขนส่งระหว่างดินแดน

            ส่วนเรื่องของมนุษย์ นราธิวาสเรามีพี่น้องประชากรเป็นชาวมุสลิมประมาณ ๘๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ซึ่งภาษาสอดคล้องอาเซียนบ้านเรากับพวกมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ ซึ่งมีพี่น้องเป็นประชากรมุสลิมอยู่เยอะมาก โดยเฉพาะอินโดนีเซียครับ ประมาณ ๒๐๐ กว่าล้าน ซึ่งถ้า ๓ จังหวัดเราสามารถพัฒนาให้เป็นอุตสาหกรรมสินค้าได้ ผมเชื่อว่าตลาดในอาเซียนจะสามารถรองรับเราได้เยอะมาก และนี่คือส่วนของความร่วมมือที่เราได้เปรียบมากกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในชายแดนภาคใต้

ส่วนด้านประชากรนะครับ วัยหนุ่มสาวจะเยอะครับที่นี่ แต่อัตราการว่างงานค่อนข้างสูง เราก็คิดว่าส่งเสริมการเรียนหนังสือยังไม่สอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ การเรียนที่นี่เน้นการเรียนด้านอารมณ์เยอะครับที่นี่ สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ อุตสาหกรรม ซึ่งตลาดความต้องการมันมีจำกัดนะครับ ก็อยากปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอยู่ครับ

ส่วนของทรัพยากรธรรมชาติ เราก็ได้เปรียบครับ พื้นที่มียางพารา มีลองกอง มีผลหมากรากไม้ หลายที่มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีเส้นทางคมนาคม มีไฟฟ้า ประปา ครอบคลุมคนทุกหมู่บ้านนะครับ นี่คือต้นทุนของจังหวัดนราธิวาส

สำหรับอำเภอสุไหงโกลกก็อยากเรียนให้ท่านทราบว่า เรามีสิทธิพิเศษอยู่ ๓ ประการนะครับ ประการแรกคือ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะ ซึ่งกองทัพบก ซึ่งทางรัฐบาลรองรับอย่างดี ทำให้ ๗ หัวเมืองหลักของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็มีปัตตานี เมืองยะลา เบตง นราธิวาส อำเภอตากใบ สุไหงโก-ลก และหาดใหญ่ เป็นเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะ ซึ่งทางกองทัพบกเน้นสิทธิประโยชน์เรื่องการดูแล เรื่องการเสริมสร้างและควบคุม นี่คือส่วนแรก

ส่วนตัวที่สองตามโครงการเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะ ซึ่งเป็นนโยบายรัฐบาลที่เป็นจังหวัดต้นแบบของนราธิวาส นี่คือเรื่องของลดอัตราภาษี ฉ้อโกง เรื่องเกตเวย์ และการควบคุมความประพฤติ ตามการติดตามล่าสุด ตามมติครม. ตามที่ท่านนายกรัฐมนตรีได้นำคณะรัฐมนตรีมาประชุมสัญจรที่จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๕๖

ดังนั้น สพฐ.ผู้ประกอบการค้าและการเกษตร ๓ จังหวัด ร่วมกับนักวิชาการ ก็ได้เสนอไอเดีย รูปแบบในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้มีเมืองนำร่องอยู่ ๓ เมือง คือ ๓ เหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน คือเมืองปัตตานี ให้เป็นการพัฒนาการเกษตร เพราะว่าที่จังหวัดปัตตานีก็มีโรงงานอุตสาหกรรม คือโรงงานน้ำมันปาล์ม ที่มีการลงทุนก่อสร้างไม่ต่ำกว่าพันกว่าล้าน และวัตถุดิบที่จะส่งเข้ามันยังไม่เพียงพอ โรงงานเขาคาดการณ์ไว้เยอะมาก แต่ผลิตได้เพียง ๖๐ เปอร์เซ็นต์ ต้องนำมาจากที่อื่น มาจากจังหวัดสงขลา พัทลุงมาช่วย ทางสพฐ.ต้องการให้หนองจิกเป็นเมืองพัฒนาด้านการเกษตร มีปาล์ม มีมะพร้าว มีนาข้าว รองรับเพื่อขยายเป็นทางออก

อีกส่วนเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว คือเบตง เพราะโดยพื้นฐานแล้วเป็นเมืองกินเมืองเที่ยวนะครับ บรรยากาศสงบ ที่เที่ยวเยอะ ก็จะพัฒนาเมืองเบตงเป็นเมืองท่องเที่ยวต้นแบบ ส่วนสุไหงโกลก ในอดีตที่ผ่านมาสุไหงโกลกเป็นธรรมชาติ เป็นเมืองหลวงของพ่อค้าคนจีน ซึ่งมีการค้าขายส่งไปประเทศมาเลเซีย เป็นการค้าขายที่ชายแดนเป็นประจำเป็นเมืองพี่เมืองน้อง และรัฐบาลต้องการที่จะพัฒนาให้เป็นเมืองต้นแบบนะครับ จัดระบบการค้าให้เป็นการค้าข้ามแดนการค้านานาชาติอันนี้คือเราตรงกับมาเลเซีย รัฐบาลเองก็ต้องการให้สุไหงโกลกเป็นเมืองต้นแบบทางการค้า นี่คือในส่วนของสุไหงโกลก เป็นที่มาของโครงการเมืองต้นแบบ ๓ เหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

สำหรับอำเภอสุไหงโก-ลก พื้นฐานของประชากรก็มีอยู่ประมาณ ๗ หมื่น ๗ พันกว่าคน ที่ถูกต้องตามทะเบียนราษฎร์ และจะมีประชากรแฝงอยู่บ้าง เป็นแรงงานต่าง ๆ มีประชากร ๖๘ เปอร์เซ็นต์ ทำอาชีพธุรกิจค้าขายกัน โดยเฉพาะในอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นตำบลที่มีการค้าขายกันสูง เกือบทุกหลังคาเรือน อาจจะเป็นเรื่องของการทำธุรกิจ เป็นหุ้นส่วน หรือเป็นพนักงานด้านบริการ มีการใช้รถยนต์ขนส่งต่าง ๆ ในการทำธุรกิจ การค้าขาย

เรายังมีการท่องเที่ยว มีความร่วมมือติดต่อ เป็นจังหวัดที่มีความสมบูรณ์พูนสุขในประเทศไทยเลยก็ว่าได้ มีพรุโต๊ะแดง เนื้อที่อยู่ประมาณ ๑ แสนกว่าไร่ เป็นป่าพรุที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ ทั้งพืชและสัตว์ เรามีศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะ ซึ่งเป็นสิ่งที่เคารพสักการะของพี่น้องคนไทยเชื้อสายจีนในสุไหงโก-ลกและจากทั่วประเทศ จากมาเลเซีย สิงคโปร์ จากประเทศจีน ไปมณฑลยูนนาน ซึ่งมีความเชื่อว่าศาลเจ้าแม่โต๊ะโมะจะสามารถดลบันดาลประทานพร ให้คนที่มาเที่ยวเยี่ยมชมและมาสักการะบูชา ผมคิดว่าพี่น้องชาวสุไหงโก-ลกควรผ่านไปสักการะบูชา ไปขอได้ครับ เค้ามีความเชื่อว่าไปขอแล้วจะได้

นอกจากนี้เรายังโยงการท่องเที่ยวมาจากอำเภอแว้ง เป็นที่ตั้งของป่าฮาลาบาลา ซึ่งป่าฮาลาบาลาเป็นป่าดิบชื้นที่มีความสมบูรณ์เป็น ๑ ใน ๓ ของโลก รองจากป่าอะเมซอนของอเมริกาใต้ ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา อำเภอแว้ง อำเภอสุคิริน อำเภอศรีสาคร ไปอำเภอเบตง อำเภอธารโต อำเภอบันนังสตา เป็นป่าที่มีความต่อเนื่อง ในป่าผืนนี้มีนกเพิ่มขึ้น ๓ ประเภท มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว โดยอำเภอสุคิรินเป็นเมืองท่องเที่ยว มีเหมืองทอง มีป่าธรรมชาติ โยงไปที่อำเภอตากใบ มีวัดไทยที่เป็นวัดเก่าแก่ที่มีประวัติยาวนาน ตลาดน้ำ โยงไปอำเภอบาเจาะ ทำให้เรามีบริบทในเรื่องของการท่องเที่ยวในการโยงทั้งหมด

ส่วนในเรื่องของการค้าชายแดนนะครับ ปี ๒๕๕๙ เรามีงบสร้างสะพาน ๒ พันกว่าล้าน ก็รองจากอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา เพราะสะเดาเค้าได้รายได้จากการขนส่งไปปีนัง เพราะว่าท่าเรือปีนังจะติดต่อกับชายแดนภาคใต้ ถ้าจะไปปีนังก็ต้องไปที่สะเดา จังหวัดสงขลา ส่วนของสุไหงโก-ลกนะครับเป็นการค้าระหว่างจังหวัดกับประเทศ ซึ่งตอนนี้การค้าขยายตัวไปถึงประเทศอินโดนีเซีย ไปสิงคโปร์ครับ

มูลค่าการค้าที่ทำให้เราได้มากเป็นพวกผลิตภัณฑ์พวกเสื้อผ้า ส่งไปยังมาเลเซีย ผักผลไม้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ส่วนที่เรานำเข้านะครับ เรานำเข้าไม้เป็นอันดับ ๑ ไม้ทั่วประเทศตอนนี้ก็มาจากมาเลเซียทั้งหมด ชายแดนพม่า ชายแดนด้านลาวตอนนี้ไม้หมดเลย มาเลเซียไม้อุดมสมบูรณ์มากครับ มาเลเซียเป็นประเทศที่เค้าดูแลทดแทนไม้กันดีมาก

ผมมีโอกาสไปดูอุตสาหกรรมสวนปาล์มมาเลเซียครับ เค้าตัดไปแล้วมีการปลูกทดแทนครับ แล้วมาเลเซียห้ามส่งไม้ท่อนซุงออกนอกประเทศ ต้องแปรรูปเท่านั้น แต่มาเลเซียสามารถนำท่อนซุงมาจากนอกประเทศมาแปรรูปที่มาเลเซียได้ แต่ไทยไม่สามารถนำซุงมาจากมาเลเซียได้ ต้องแปรรูปเท่านั้น มาเลเซียเค้ามีระบบในการจัดการดีมากมีการทดแทน แต่ไทยเราใช้แล้วหมดเลย ตัดแล้วตัดเลยไม่ต้องทดแทน เพราะงั้นเราเลยนำเข้าไม้มากเป็นอันดับ ๑ เดือนหนึ่งประมาณ ๕๐๐ กว่าตัน ๖๐๐ กว่าตัน ส่งไปทั่วประเทศ ไม้ทุกชนิดมาจากมาเลเซีย

ส่วนเรื่องของการบริการต่าง ๆ การค้านะครับ ปีที่แล้วเริ่มจากปี ๒๕๕๘ นะครับ ๕.๙ เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการค้าขายชายแดนยังปกติครับ เส้นกราฟขึ้นมาตลอด มูลค่าในการค้าขายมูลค่าเพิ่มขึ้นตลอด เราเกาะกระแสให้คนมาเที่ยวครับ เป็นปัจจัยหลัก

นี่คือโครงการ ๓ เหลี่ยมมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนนะครับ หลังจากที่รัฐบาลได้กำหนดแล้ว ว่าให้สุไหงโก-ลกเป็นเมืองต้นแบบ ทางสุไหงโกลกจังหวัดนราธิวาสเราก็ได้จับมือกันทุกภาคส่วนครับ ทั้งสมาคมการค้า สมาคมการท่องเที่ยว สมาคมโรงแรม สถานบริการ องค์กรปกครองท้องถิ่น คณะผู้ใหญ่บ้าน ก็มีการประชุม มีการทำเวทีประชาคม มีการหารือ มีการปูแนวทางทั้งหมด ปรับปรุงแผนงานต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อนำเสนอโครงการให้กับรัฐบาล เพื่อให้เป็นรูปแบบ ว่าเราจะทำอย่างไรให้เป็นเมืองต้นแบบนะครับ

โครงการต่าง ๆที่เราออกไป มติครม.ให้ความเห็นชอบมาแล้วในหลายโครงการ และหลาย ๆ โครงการก็มีการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้สอดคล้องกับบริบท ซึ่งทั้งหมดคิดว่าการพัฒนาเราต้องใช้คนใน ๒-๓ ปีข้างหน้า ตอนนี้เหมือนเป็นการตั้งไข่ก่อน นำเสนอโครงการรูปแบบก่อนเพื่อพัฒนารูปแบบให้ได้

ก็ขออนุญาตให้ทางปลัดซึ่งเป็นผู้รวบรวมโครงการทั้งหมดเสนอว่ามีโครงการอะไรบ้าง หลังจากนั้นเราก็จะให้พี่น้องสื่อมวลชนได้สอบถามครับ แล้วเราจะต่อด้วยโครงการน้องเบอร์ที่หนึ่ง เพื่อรองรับการพัฒนาเมืองต้นแบบ ผมก็ได้นำแนวคิดโครงการกับผู้บริหารอำเภอขึ้นมา เพื่อรองรับสอดคล้องให้เป็นอันเดียวกัน เพราะสุไหงโก-ลกเป็นเมืองต้นแบบแล้ว คนรอบนอกมี ๔ ตำบล แล้วตำบลสุไหงโก-ลกเป็นเทศบาลเมือง ทั้งตำบล และอีก ๓ ตำบลเป็นตำบลที่ใช้ออกถึงชนบท เค้าก็ถามว่าเค้าจะได้อะไรบ้างอยากจะพัฒนาเมือง เพราะเราเน้นเรื่องของธุรกิจการค้าขาย เลยทำโครงการขึ้นมารองรับสอดคล้องและขยายไปยังอำเภอต่าง ๆ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อที่จะเป็นตลาดกลางให้กับ ๓ จังหวัดได้ส่งออกได้มาค้าขายกัน ก็พยายามนำเรียนในเบื้องต้น

ปลัดอำเภอ : กราบเรียนท่านนายอำเภอและคณะสื่อมวลชน ผมขออนุญาตนำเรียนในส่วนของตามมติครม. เมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๕๙ ที่ได้พูดเรื่องเมืองต้นแบบ ๓ เหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ที่ได้แบ่งงบประมาณ ๕๓๐ ล้านบาท

ต้องขออนุญาตนำเรียนโครงการที่หนึ่งนะครับ เป็นโครงการปรับปรุงและยกระดับขนส่งทั่วไปในสุไหงโก-ลก ด้านขนส่งสินค้าและคลังสินค้านะครับ งบประมาณ ๑๘๕ ล้านบาทเศษ จะอยู่ในส่วนของโครงการนี้ ก็จะมีจำนวนทั้งสิ้น ๓ กิจกรรม ที่ได้รับการอนุมัติ และทางสปช.ในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ก็จะเป็นโครงการปรับปรุงและยกระดับทั่วไปในสุไหงโก-ลก

กิจกรรมที่ ๒ นะครับ พัฒนากองเก็บด้านคลังสินค้า งบประมาณ ๑๓๔ ล้านบาท ศึกษาความเหมาะสมสถานีขนส่งสินค้า ๒๐ ล้านบาท ซึ่งวัตถุประสงค์เดิมจริง ๆ แล้ว โครงการนี้เพื่อที่จะทำเป็นลานกองเก็บสินค้า เนื่องจากสุไหงโก-ลกที่เป็นเมืองต้นแบบ มีชายแดนการค้ารอบประเทศ ทีนี้เราจำเป็นต้องสร้างในกรณีเหมือนกับท่าที่ลาดกระบัง แต่เมื่อศึกษาความเหมาะสมในเรื่องของพื้นที่ในเรื่องของงบประมาณแล้ว มันไม่คงทน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโครงการนี้ก็ได้รับการอนุมัติแล้วจากทางสปช. ซึ่งค่าก่อสร้างเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าสำรวจได้จากกรรมสิทธิ์ที่ดิน

แล้วก็แจ้งที่ปรึกษาจาก ๒ พื้นที่ คือจังหวัดนราธิวาสและสงขลา ๑๘ ล้านบาท ที่ได้รับอนุมัติ ก็จุดประสงค์ของทั้ง ๓ โครงการ ๘ กิจกรรรมนี้ก็จะได้รับการอนุมัติในปีงบประมาณ ๒๕๖๑ ก็จะมีเพียง ๒ กิจกรรมดังกล่าวนะครับ

โครงการต่อไป โครงการที่สอง โครงการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงคมนาคมขนส่ง ซึ่งโครงการนี้ก็จะมีกิจกรรม กิจกรรมที่ ๑ ก็โครงการการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำสุไหงโก-ลก ซึ่งปัจจุบันมีอยู่แล้ว แต่เนื่องจากความแออัดไม่เพียงพอ ก็เลยได้เสนอโครงการดังกล่าว เท่าที่ติดตามโครงการนี้จะติดขัดในส่วนของฝั่งประเทศมาเลเซีย ในเรื่องของการออกแบบเรียบร้อยแล้ว โครงการเคลียร์พื้นที่ของฝั่งไทยเราเรียบร้อยแล้วนะครับ

ในการดำเนินงานก่อสร้างสะพาน ก็คือเป็นการก่อสร้างสะพานอีกในฝั่งมาเลเซีย เบื้องต้นปัญหาที่ ๑ ที่มีผลกระทบก็คือ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการเบื้องต้น ส่วนที่ ๒ มาเลเซียไม่ได้มีการวางแผนในการรองรับในกรณีคืนที่ดินของชาวบ้าน และโครงการนี้ก็มีการจัดการเรื่องความปลอดภัย มีการเตรียมพร้อม

ประการที่ ๒ เกี่ยวกับถนนความปลอดภัยสูงของอำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอหาดใหญ่ โดยมีทางรถไฟซึ่งมีความกว้างประมาณ ๘๐ เมตร คือสถานีรถไฟจากอำเภอสุไหงโก-ลกถึงสถานีหาดใหญ่ หาดใหญ่เลียบทางรถไฟ โครงการดังกล่าวกรมทางหลวงเป็นผู้รับผิดชอบ และพิจารณาตามความเหมาะสมแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังบรรจุอยู่ในแผนความร่วมมือ แต่ก็บรรจุในปีท้าย ๆ ของแผนนะครับ

กิจกรรมที่ ๓ การก่อสร้างความร่วมมือสุไหงโก-ลก งบประมาณ ๑๑ ล้านบาทเศษ ซึ่งส่วนนี้ก็ทางกรมทางหลวงเช่นกัน ได้ดำเนินการสำรวจเส้นทางแล้ว แต่เนื่องจากเส้นทางพื้นที่ติดกับเขตป่าพรุ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องทำรายงาน ซึ่งขณะนี้ก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติ

กิจกรรมที่ ๔ พัฒนาท่าเทียบเรือชุมชน งบประมาณ ๒๔ ล้านบาทเศษ โครงการนี้ได้ยกเลิกไปเนื่องจากว่าท่าเทียบเรือที่จะก่อสร้างตั้งอยู่บนแม่น้ำสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นแม่น้ำที่อยู่ระหว่างเขตแดนไทย-มาเลเซีย ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกันระหว่างประเทศ จึงได้ยกเลิกไป

โครงการที่สาม โครงการจัดตั้งเมืองการค้าปลอดภาษี โดยเป็นในส่วนของงบสื่อสาร รูปแบบการจัดตั้งร้านค้าปลอดอากร ที่เหมาะสมกับบริบทของเมืองสุไหงโก-ลก ขออนุญาตนำเรียนนะครับ ว่าอาคารที่เห็นคือมีร้านค้าอยู่บริเวณชายแดน เพื่อที่จะรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ แต่ในบริบทของเมืองสุไหงโก-ลกนี้ ท่านนายอำเภอร่วมกับเมืองการค้าจังหวัดนราธิวาส ได้ร่วมหารือแล้ว ว่าสุไหงโก-ลกเราต้องไม่เหมือนที่อื่น เราไม่เพียงจัดตั้งเฉพาะเมืองการค้าเพียงอย่างเดียว แต่เราจะส่งให้ทั้งเมืองสุไหงโกลกเป็นเขต ปลอดภาษี โดยที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียเข้ามาได้ และอีกส่วนนึงเราก็สามารถดึงนักท่องเที่ยวจากพี่น้องชาวไทยมาจับจ่ายซื้อของได้ในราคาถูกลงนะครับ

นี่คือโครงการ ๘ กิจกรรมที่ได้รับผิดชอบในปี ๒๕๕๙ นะครับ อีก ๒ โครงการที่เหลือ ขออนุญาตเพิ่มเติมนะครับ ก็คือการก่อสร้างศูนย์จำหน่ายสินค้าทางการเกษตรเนื้อที่ ๘ ไร่ของการรถไฟ ซึ่งเมื่อครู่ก็ได้เรียนไปแล้วว่าทางรถไฟสุไหงโก-ลกเป็นศูนย์กระจายสินค้า โดยที่สุไหงโก-ลกเราไม่มีพื้นที่ปลูก แต่เราจะมีสินค้าผลผลิตทางการเกษตรทุกประเภทมายังพื้นที่สุไหงโก-ลก

ส่วนอีกกิจกรรมนึงก็คือการก่อสร้างสุไหงโก-ลก คอมเพล็กซ์ เนื้อที่ ๒๕ ไร่ ของการเคหะ ฯ  ซึ่งปัจจุบันก็เป็นพื้นที่ของอาคารร้านโดยสะดวก ที่จะก่อตั้งเป็นลานกิจกรรมหรืองาน expo เพื่อเป็นการดึงนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจมาร่วมลงทุนในส่วนนี้

ก็ขออนุญาตเพิ่มเติมอีกกิจกรรมนึง เป็นความก้าวหน้านะครับ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารบุคคลเข้าเมือง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวบริเวณชายแดน ซึ่งในส่วนนี้นะครับ ท่านนายอำเภอก็ผลักดันเนื่องจากชายแดนสุไหงโก-ลกเนี่ย ได้ยินจากข่าวจากทีวีบ้าง ว่าไกลมากเลย ประสบในเรื่องของปัญหาบริเวณเข้า-ออกจากชายแดนนะครับ ซึ่งส่วนนึงปัญหาที่เกิดความล่าช้า ก็คือขาดแคลนในเรื่องของวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือครับ

โดยที่ด่านสุไหงโก-ลกจะรองรับการเดินทางเข้าออกในเอกสารเดินทาง ๒ ประเภท ประเภทที่ ๑ก็คือ พาสปอร์ต ประเภทที่ ๒ ก็คือบอเดอร์พาส ในส่วนของพาสปอร์ตทางอำเภอได้เสนอเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อจัดซื้อระบบตรวจคนเข้าเมือง จำนวน ๑๓ ชุด เพื่อรองรับการตรวจคนเข้าเมืองโดยใช้พาสปอร์ต ในส่วนของการตรวจคนเข้าเมืองที่ใช้บอเดอร์พาส เราก็ขอการสนับสนุนจากอุปกรณ์ เป็นเครื่องปรินท์ จำนวน ๕ ชุด ซึ่งขณะนี้ ทางอำเภอสุไหงโก-ลกก็ได้บริหารงบประมาณ จัดงบของจังหวัด ซึ่งตอนนี้ก็ได้ดำเนินการติดตั้งเรียบร้อยแล้ว สนับสนุนให้มีการสัญจรเข้าออก โดยเฉพาะช่วงนี้ พีคสุด ๆ ที่มีนักท่องเที่ยวเข้าออกเป็นจำนวนมาก ก็ขออนุญาตนำเรียนเบื้องต้นเท่านี้ครับ

นายอำเภอ : ขออนุญาตเสริม ว่าการติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ที่ด่านอำเภอสุไหงโก-ลก ปีนึงคนเข้าออกด่านสุไหงโกลกเป็นล้านคน วันนึงหลายพันคนมาก ซึ่งสมัยก่อนไม่มีเครื่อง ก็ต้องรอคิว แต่พอตอนนี้มีเครื่อง ก็ใช้เวลาคนนึงไม่กี่วินาที ปรับเพิ่มขึ้นได้เร็วมาก ก็ตรงส่วนนี้ เพราะเมืองการค้าก็ต้องการความสะดวกความรวดเร็วครับ นี่ก็คืองานที่เราเตรียมมาแล้ว

ส่วนเรื่องสะพาน ถ้าท่านย้อนไปตอนที่คนเยอะ ๆ รองรับไม่พอเลย เพราะเรามีสะพานแค่ที่เดียว เรากำลังทำเรื่องเพื่อก่อสร้างแห่งที่ ๒ นะครับ ซึ่งเรื่องการก่อสร้างสะพาน ก็มีการหารือกันตั้งแต่สมัยนายกอภิสิทธิ์แล้ว เรื่องการสื่อสารออกไปทางมาเลเซีย ซึ่งงบประมาณก่อสร้างคนละครึ่งกัน รัฐบาลมีการเตรียมจากมาเลเซียไปลังกาวี รัฐบาลจากกรมทางหลวงประสานไปยังมาเลเซีย ก็มีกรมท่าของมาเลเซียรับผิดชอบด้วย ตอนนี้กำลังนำเสนอเพื่อพิจารณางบประมาณกันอยู่ คิดว่าต้องก่อสร้างครับ เพราะถ้าไม่ก่อสร้างในอีก ๕-๖ ปีข้างหน้าการท่าไทยเราจะลำบาก

ครับ นี่ก็เป็นโครงการที่ต้องการการผลักดันอย่างเร่งด่วนระหว่างประเทศ ผมยังคุยกับกรมการค้าว่าถ้าโอกาสดี สักครั้งนึงก็อยากเจอรองนายก ฯ  ถ้าท่านขึ้นมาผมว่าต้องได้ เพราะตอนนี้ท่านอาจจะยังมองไม่เห็นพื้นที่ ถ้ามาดูพื้นที่ท่านอาจจะตัดสินใจได้ ต้องรอจังหวะที่เหมาะสม เพื่อรอเจอท่าน อยากให้ท่านมาดู เพื่อตอนนี้มีการดำเนินการติดตามผลเยอะมาก

ส่วนเรื่องของเมืองปลอดภาษี ก็เห็นด้วยครับ เพราะผมคุยกับนักธุรกิจรุ่นหนุ่มในสุไหงโก-ลก ที่เขาไปมีประสบการณ์จากต่างประเทศมา ไปเรียนจากอเมริกา จากเยอรมัน จีน เขามองว่าสุไหงโก-ลก ถ้าเป็นเมืองพิเศษเราต้องจัดรูปแบบเมืองให้ดี เพราะสินค้าหลายส่วนเราสามารถทำได้ เพราะทุกวันนี้สุไหงโกลกเป็นศูนย์กลางในการส่งออก แต่บริษัทอยู่ในกรุงเทพหมดเลยครับ เราส่งออก เราไม่ได้อะไรเลย แต่ถ้าเราทำได้ เราจะสามารถลดตัวแบ่งเรื่องภาษีประโยชน์ได้ทั้งหมด ซึ่งกฏหมายไทยมีเกี่ยวข้องครับ

ผมเลยเสนอสภาผู้แทนไปว่า ถ้าศึกษาได้ เราใช้กฏหมายพิเศษเฉพาะพื้นที่ตรงนี้ ผมนำเรียนผู้แทนไป ว่าถ้าได้เป็นเมืองพิเศษ มันต้องพิเศษ ไม่ใช่เหมือนปกติ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น คือต้องการให้ทุกคนมีหนังสือเดินทาง เพราะถ้ามี passport เราจะสามารถทำอะไรได้มากขึ้น ซื้ออะไรได้มากขึ้น เพราะมีหลักฐาน และผมก็ได้ไปคุยกับทางกอ.ซึ่งเป็นคนมาศึกษารูปแบบ ดูว่าในโลกนี้มันดูยาก

เราเลยคิดกันเอง เพราะว่าโครงเราต้องการรับสมัครคนที่พร้อมที่จะเข้าร่วมโครงการจดทะเบียนขึ้นมา และแบ่งเป็นโซน ตรงส่วนนี้เสื้อผ้า นาฬิกา มือถือ แบ่งเป็นส่วน ให้ลูกค้าไปเลือกเอาเอง คนไทยซื้อโดยใช้บัตรประชาชนเป็นหลักฐานด้วย เพราะมันมีข้อมูลมีชิปอยู่แล้ว เพื่อลดการนำไปขายต่อ ให้เกิดการดึงนักท่องเที่ยวมามากขึ้น นี่คือรูปแบบที่ต้องการตรงนั้น ถ้าทำได้เราคนไทยก็ไม่ต้องไปมาเก๊า ไม่ต้องไปออฉาร์ด สุไหงโก-ลกชาร์จนี่แหละ ซึ่งรัฐบาลก็ต้องสร้าง เพราะพวกเราพร้อมสร้างอยู่แล้ว และพร้อมจะลงทุน นี่คือตัวหลัก ๆ

ต่อไปเป็นเรื่องของการรถไฟ เราต้องการเชื่อมไปมาเลเซียให้ได้ เพราะถ้าเราเชื่อมต่อการขนส่งสินค้า เราจะส่งข้ามไปยังมาเลเซียครับ เพราะจีนเค้ามาเชื่อมไปยังพม่า ไทย ลาว เวียดนาม และตอนนี้จีนมันลงทุนกับมาเลเซียแล้ว ถ้าเข้ามาเลเซียก็โยงไปสิงคโปร์ได้แล้ว แล้วถ้าเราต่อสุไหงโก-ลกเข้าไปมาเลเซียได้ เราจะสามารถวิ่งได้ทั้งระบบเลย นี่ก็เป็นข้อเสนอแนะที่ผมอยากให้รัฐบาลทำ ทำไม่ทำก็เรื่องของเค้าแต่เราเสนอไปแล้ว

ส่วนเรื่องของพื้นทีการเกษตร ตอนนี้ก็เรียนพี่น้องสื่อมวลชนว่า คือสุไหงโก-ลกนี่เป็นเมืองศูนย์กลางเป็นพ่อค้าคนกลาง เวลาที่สินค้าพืชผักผลไม้ที่มีที่กิมหยง ที่มีที่หาดใหญ่ ส่งมาหมดครับ สุไหงโก-ลกมีผลไม้เกือบทุกชนิด ที่เค้าซื้อขายกินกัน เรามีแอปเปิล สาลี่ องุ่นมาจากปานามา มาจากเกาหลี ลงมาเป็นลัง มาทางมาเลเซีย เป็นพ่อค้าคนกลางซึ่งกระจายกันอยู่ตามร้านค้า ร้านใครร้านมัน มันยังไม่เป็นระเบียบ เลยต้องการให้ทางเทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก เช่าพื้นที่การรถไฟแทน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รกร้างว่างเปล่า มาสร้างประโยชน์ ซึ่งทำสัญญาเช่ากันในราคาถูก

ผมเคยคุยกับผู้ว่าการรถไฟ จำชื่อไม่ได้ ซึ่งรถไฟอนุมัติแล้ว ให้เช่าพื้นที่ในราคาถูก ดังนั้นหากรัฐบาลมาปรับโครงสร้างพื้นฐานในเรื่องไฟฟ้า ประปา มวลระดับน้ำให้เค้า ให้ประชาชนได้มาลงทุน ทั้งหมดทั้งมวลที่ทำไปเพื่อส่งเสริมตลาดนัด ๔ มุมเมือง แบ่งเป็นโซน เป็นโซนผักผลไม้ โซนปลา โซนอาหารทะเล เป็นโซนที่ตอนเช้ารถมา ครับ มาจากมาเลเซีย เขาจะมาตั้งแต่เที่ยงคืน พอตี ๑ ตี ๒ ก็รอเอาของขึ้น พอด่านเปิดตี ๕ ก็เข้าไปแล้ว ส่งไปนะครับ ต่อไปเราต้องปรับให้เป็นระบบ เพื่อต้องการให้สุไหงโก-ลกเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สวยงามนะครับ นี่คือโครงการที่ต้องการรอการผลักดันครับ

โครงการอีกตัวครับตอนนี้สุไหงโก-ลกร่วมกับการเคหะ ที่สร้างหมู่บ้านเอื้ออาทรไว้ พื้นที่ทั้งหมด ๒๐๐ กว่าห้อง ๒๕ ไร่นะครับ ตอนนี้เป็นอาคารรกร้างว่างเปล่า สร้างไม่เสร็จแล้วทิ้งไป เป็นที่มั่วสุมไม่ดีในเมืองสุไหงโก-ลก เราต้องการปรับตรงนี้ครับ รื้อออกเสีย แล้วให้เทศบาล ทางจังหวัด เป็นคนดูแล การเคหะเค้าคงไม่ให้ใช้ฟรี เค้าก็จะขาย ตอนแรกขายเป็นร้อยล้าน แต่ต่อรองไปต่อรองมา ตอนนั้นท่านนายก ฯ มาเป็นประธานบอร์ด มาคุยกับการเคหะว่าให้เช่า ตอนหลังก็เปลี่ยนเป็นซื้อ ๖๕ ล้านครับ ลดราคาไป ๓๐ กว่าล้าน

ให้กรมท้องถิ่นตั้งงบประมาณ ซื้อให้เป็นของราชการ แล้วงบประมาณปี ๖๑ นะครับ ทางกรมท้องถิ่นไม่ได้ใส่ไว้ เลยต้องขอเข้าในแผนใหม่ ผ่านแผนกลุ่มจังหวัด ผ่านแผนภาคเข้าไปใหม่ ซึ่งตอนนี้ก็ได้มา และรัฐบาลก็พร้อมที่จะรองรับในการพัฒนาแล้ว มีการให้โยธาไปออกแบบนะครับ ว่าจะทำตรงนี้เป็นมิวเซียม เป็นที่ประชุม เป็นลานวัฒนธรรม และมีห้างสรรพสินค้า เพราะที่มาเลเซียเค้ามีห้างกันหมดแล้ว แต่ ๓ จังหวัดยังมีแค่บิ้กซีที่เดียว ถ้าสุไหงโกลกทำได้ ผมเชื่อว่าจะเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก

เราจะทำเป็นลานวัฒนธรรมจีน พุทธ มุสลิม เป็นตรงนี้ ในพื้นที่ทั้งหมดจะใช้ในการจัดอีเวนท์ด้วย นี่คือโครงการที่เราวางไว้ ซึ่งเราต้องใช้การผลักดันจากทุกภาคส่วน เรื่องพื้นที่ประชารัฐ ที่รัฐเสนอประชาพวกพ้องร่วมกันเข้ามาดูแลทั้งหมดนะครับ ซึ่งทุกโครงการที่ทางนี้ได้นำเสนอไป เป็นโครงการที่ทุกภาคส่วนสุไหงโก-ลกเสนอ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการระดับจังหวัด เข้าเรื่องงบประมาณไป แต่ที่ผ่านมายังได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย

ส่วนเรื่องของถนนปลอดภัยสูง ผมได้คุยกับรองอธิบดีกรมทางหลวง คือแนวคิดก่อนการลงทุนสร้างคู่กับการรถไฟ แล้วก็มีรั้วรอบขอบชิด ไปมอเตอร์เวย์ พอเข้าในเมืองขบวนรถก็วิ่งเหนือรถไฟ เพราะว่ารถไฟอยู่ข้างล่าง ถ้าเราทำแบบนี้ได้เราจะมีความปลอดภัยและความรวดเร็วทางการขนส่ง กรมทางหลวงบอกว่าไม่คุ้มทุน ถ้าเรื่องความคุ้มทุนสำหรับ ๓ จังหวัดไม่ต้องสร้าง แต่ถ้าเอาความปลอดภัยควรลงทุนครับ ทำไมเราต้องลงทุนครับ เพราะว่ามีหลายโครงการที่ลงทุนสร้างไปแล้วไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นเราจึงพยายามต่อสู้กันเพื่อโครงการนี้

นี่ก็เป็นเรื่องของกฏหมายโครงการ สำหรับการเตรียมรองรับ ขออนุญาตเรียนต่อยอดนิดนึงสำหรับ ๓ จังหวัดตรงนี้ จะต่อยอดให้เสร็จโครงการนี้รองรับของดีๆ โปรโมตหน่อย เพื่อรองรับในคราวเดียว สินค้าทุกอย่างที่เราส่งไปมาเลเซีย คือพืชผักนั้น พืชผักร้อยละเก้าสิบมาจากสมุทรสาคร นครศรีธรรมราช ผลไม้มาจากเชียงแสน เชียงตุง ส่วนผลไม้ฤดูกาล ทุเรียน เงาะ มังคุด มะม่วงมาจากภาคกลาง เราส่งออกเป็นอันดับ ๓ ไปมาเลเซีย

เนื้อนะ วัวมาจากพม่า ผ่านประจวบคีรีขันธ์ ไปด่านสิงขร ไปฝั่งพัทลุง แล้วต่อออกไปมาเลเซีย แล้วก็นำเรานำเข้าหนังฟอกวัวจากมาเลย์มาใช้ในประเทศไทย วัวในนราธิวาสก็คล้าย ๆในมาเลย์ มีน้อยมากเพราะมันไม่มีการส่งเสริม เราเลยพยายามปรับตรงนี้ว่า เราจะทำอย่างไรให้นราธิวาสมีอำเภอที่เลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ ปัตตานี พืชผัก ยะลาปลูกผลไม้ให้ ทำให้เรามีขายภายในเราเอง ไม่ต้องนำมาจากด้านนอก

มะขามหวานไทยเรามีที่เพชรบูรณ์ส่งไปมาเลเซียครับ สัปปะรดภูแลส่งไปยังมาเลเซีย เขาชอบกันมาก มาเลเซียเค้าชอบบริโภค แต่เค้าไม่ปลูก มาเลย์ไม่มีพันธุ์เป็นของตัวเองหรอกครับ ผลไม้ไม่ค่อยมีหรอกแต่ชอบทานมาก ผมไปเยี่ยมสิ่งที่นำไปฝากคือ ข้าวเหนียวมะม่วงกับส้มตำ เค้าชอบทานมาก แต่เค้าไม่ปลูกไม่ทำ นี่คือความได้เปรียบของบ้านเรา แต่คนบ้านเรามันไม่ค่อยทำงานเท่าไหร่ ให้กันมานาน ให้อย่างเดียว เลยมีโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อจัดการให้เป็นระบบ

ก็ขออนุญาตเรียนพี่น้องให้ทราบถึงบริบท ผมมาอยู่ที่นี่ใน ๓ จังหวัดภาคใต้ตั้งแต่ปี ๓๕ ก็ ๒๐ กว่าปีแล้ว ปัญหามี่ให้ต้องแก้เยอะมากครับ ไม่ว่าจะในเรื่องของสุขภาพ สุไหงโก-ลกเรามีเชื้อโรคเยอะมากครับ เพราะมันอยู่ติดชายแดน เชื้อโรคข้ามแดน เมื่อครั้งก่อนที่มาเลย์มีหวัดนก เชื้อโรคก็เข้ามาครับ ต้องเฝ้าชายแดน ตรวจค้น คัดกรอง ฉีดกันทุกตารางนิ้ว ระบาดมากเลยครับ เรื่องการศึกษาก็ยังไม่ถูกต้อง บริบท เศรษฐกิจยังไม่พร้อม เยอะมาก สุไหงโกลกน้ำท่วมครั้ง แต่พอหน้าแล้งใหม่ ๆ มาปุ๊บน้ำท่วมทีเป็นเดือน ๆ ปีที่แล้วเดือนกว่า ผมตัวดำเลยครับ ปีที่แล้วนี่เพิ่งขาว พอหน้าแล้งไฟไหม้ปุ๊บ ใช้เวลาเป็นเดือน พอหน้าน้ำน้ำท่วมก็ใช้เวลาเป็นเดือน นี่คือสภาพแวดล้อมที่รอการแก้ไขและรอการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนครับ

ปลัดอำเภอ : ขอบคุณครับ ในส่วนของความเป็นมา ท่านนายอำเภอก็ได้แจ้งได้เรียนไปแล้ว และเนื่องจากว่าขอบเขตโครงการที่ลงไว้ใหญ่ ๆ ก็จะมีที่เทศบาลเมืองสุไหงโก-ลก แล้วก็ครั้งที่ท่านนายอำเภอลงพื้นที่ชาวบ้านก็จะถามนะครับ อาจจะถามผ่านทางผู้ใหญ่บ้าน ว่าพวกเราที่อยู่นอกเมืองจะได้อะไรบ้าง เมืองเติบโตเฉพาะในสุไหงโก-ลกรึเปล่า ก็เลยเป็นที่มาของโครงการตรงนี้ โดยที่ในส่วนของโครงการนี้ก็จะประกอบด้วยในส่วนของ สุขภาพดี การศึกษาดี เศรษฐกิจดีแล้วก็สภาพสิ่งแวดล้อมดี

โดยในส่วนของสุขภาพดีอะนะครับ ท่านนายอำเภอก็ได้มุ่งหวังว่า เด็กทุกคนจะต้องมีสุขภาพที่ดี คือสุขภาพที่ดีก็ไม่ใช่ว่าต้องมาดีตอนโต เพราะจะต้องดูตั้งแต่เราตั้งครรภ์ แม่เองก็จะต้องได้รับโปรตีน ซึ่งถือว่าสารโปรตีนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับมารดาที่จะตั้งครรภ์ลูก แล้วก็ในการดูแลตั้งแต่ ๐-๙ เดือน เมื่อคลอดออกมา เด็กก็จะต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ แล้วก็จะต้องได้รับปริมานอาหารที่ครบถ้วน แล้วก็ต้องมีการดูแลสุขภาพ ว่าง่าย ๆ ก็คือดูแลดี ๆ ตั้งแต่เกิดถึงตาย รวมถึงผู้สูงอายุก็ต้องได้รับการดูแลเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

โดยที่ในส่วนของการดูแลพื้นฐานให้มีสุขภาพดี ก็ได้กลายเป็นเรื่องของการอนามัยในการดูแล และในเรื่องของการดำเนินงาน ศาสนสถาน ต้องมีการดูแลผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม รวมถึงการดูแลควบคุมเรื่องคู่แข่งจากที่อื่น โดยที่ในอำเภอก็จะมีคณะทำงานพูดคุยปรึกษาหารือกันว่าเราจะมีแนวทางการป้องกันอะไรอย่างไร โดยท่านนายอำเภอก็ถือว่าเป็นบุคคลต้นแบบ ก็ได้รับรางวัลเป็นบุคคลต้นแบบในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพจากกระทรวงสาธารณสุขเมื่อปี ๒๕๕๗ การขับเคลื่อนก็ไม่เพียงเฉพาะในครัวเรือน แต่ไปสู่โรงเรียน โดยได้ผลักดันทำให้โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมเรื่องสุขภาพประดับเพชร โดยผ่านการประเมินเมื่อปี ๒๕๕๙

โดยในด้านการทำงานของเมืองสุไหงโก-ลก ท่านนายอำเภอก็พูดอยู่เสมอว่า เราจะไม่แบ่งกระทรวงหรือว่าแบ่งกรม สุไหงโก-ลกก็จะทำงานแบบสุไหงโก-ลก เป็นการทำงานแบบบูรณาการครับ นี่เป็นแผนเพื่อรองรับเมืองสุขภาพดี เด็กพิการส่วนใหญ่เกิดจากการตั้งครรภ์ของแม่ที่ไม่มีความพร้อม ผมจึงพยายามศึกษาระบบของพม่า ไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ไปอยู่พม่าเดือนนึง ไปศึกษาชีวิตพม่า ไปดูบริบท เด็ก ป.๕ เด็กวัยเจริญพันธุ์ เข้าใจผิดหมดทุกคนเลย เพื่อรองรับสุขภาพแม่เขา ยิ่งยุโรปไม่ต้องพูดถึง เข้าใจผิดหมดเลย ของไทยนี่ก็ยังไม่ส่งเสริมนะ เด็ก ๆ เกิดมาเป็น เท้าแป ปากแหว่ง เพดานโหว่ สมองไม่ดี ไอคิวไม่มี ไม่สมประกอบก็เกิดจากตรงนี้ ก็เกิดจากภาวะที่แม่ไม่พร้อมก่อนการตั้งครรภ์ แม่มีความเครียด พอมีลูกก็เลยถูกถ่ายทอดทำให้ลูกไม่สมบูรณ์ เด็กต่างจังหวัดตอนเด็ก ๆ ก็เห็น ตรงนี้เน้นมากเลยว่าต้องการพัฒนาบุคคลก่อน ต้องพัฒนาการศึกษา เพราะถ้าการศึกษาดีเด็กก็เกิดมาสมบูรณ์แบบ ไอคิวดีและการศึกษาก็จะดีขึ้น เพราะตอนนี้การศึกษาบ้านเราเน้นอย่างอื่นอยู่

ผมพยายาม จะเน้นกับเด็ก ๆ ว่าไม่ต้องเรียนมหาลัยครับ เด็กบ้านเราให้เรียนสายอาชีพครับ เรียนการอาชีพเรียนเทคนิคที่สามารถจบแล้วมาทำงานได้เลย ตอนนี้ตลาดโก-ลกต้องการแรงงานเยอะมากครับ ผมยังคิดว่าวันแรงงานแห่งชาติพม่ากลับหมด เมืองไทยตายครับ ตอนนี้ตลาดแรงงาน โฟร์แมนพม่า คุมงานพม่า หัวนายจ้างพม่า เลเบอร์พม่า ไม่มีคนไทยครับ คนไทยเป็นนายอย่างเดียว เรานิสัยเสียครับ เราต้องไปจ้างเค้าทำ นี่คือบริบทของทุกวันนี้

ผมเลยพูดเลยว่าเด็กโก-ลก หนึ่งไม่ต้องเรียนจบมหาลัย คนเรียนจบมีงานทำ มีรายได้ ก็พอ ขอแค่นี้ครับ มีอุดมการณ์อาชีพ ผมก็พูดกับวิทยาลัยชุมชนว่า เอาเด็กมาเรียน เอาเด็กตามบ้านนอกมาเรียน เพื่อนผมเป็นผู้จัดการครับ รับเด็กจบช่างไฟฟ้า ปวส. ปรากฏว่าวัดไฟไม่เป็น เรียนมาแต่ทฤษฏี จบมาเกรดดีครับ แต่เดินสายไฟวัดไฟไม่เป็น ก็ไม่เอาครับ เป็นเด็กฝึกใหม่ เลยเน้นว่าการอาชีพ คนเรียนเน้นการปฏิบัติมากกว่าทฤษฏี วัดโดยทำให้เป็นจบมาแล้ว ออกใบรับรองแล้วลองงานได้แล้ว นี่คือการศึกษาดีครับ ถ้าการศึกษาดีเศรษฐกิจดีมันจะตามมาเองครับ เด็กทุกคนถ้ามีการศึกษาแล้วมีงานทำ ไม่มีใครอยากทำผิดครับ แต่ทุกวันนี้เนื่องจากว่าไม่มีการศึกษาตลาดงานก็ไม่รับไม่รู้จะไปไหน ความคิดก็ไปทางแนวลบหมด

ผลสุดท้ายคือสิ่งแวดล้อมครับสำคัญมาก นี่ก็มี ๔ ตัวครับ ตอนนี้เลยเวลามามากแล้วผมพยายามรองรับหลายสิ่งหลายอย่างไว้ ให้พี่น้องชาวจังหวัดนี้ได้เห็นและเป็นกระบอกเสียงในการถ่ายทอดเมืองต้นแบบว่าสำคัญอย่างไรบ้าง คิดอย่างไรบ้างนะครับ อีก ๓ ปีผมวางไว้ เรื่องการศึกษากับเรื่องสุขภาพครับ เรื่องสุขภาพ ถ้าเปรียบเทียบเมื่อเข้าโครงการนะครับ เข้ามาแล้ว ๕๒ คนลูกเกิดมาทุกคนจะสมประกอบดีหรือไม่ ถ้าดีผมจะนำเสนอครับให้ต่างจังหวัดนำไปใช้บ้าง

ในส่วนของที่นี่ก็เป็นการดำเนินงานด้านการเรียนการสอนของโรงเรียนสุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมแห่งเดียวของจังหวัดนราธิวาส ที่ได้มีการสอนระบบการศึกษา โดยที่ก็จะมีการเปิดการเรียนการสอนแยกเป็นห้องพิเศษปกติ โดยที่จะใช้ภาษาอังกฤษและครูต่างประเทศเป็นคนสอนในทุกวิชา ยกเว้นวิชาภาษาไทยกับวิชาประวัติศาสตร์ ซึ่งในส่วนตรงนี้จะเป็นอาจารย์จากต่างประเทศทั้งหมด และมีห้องการเรียนการสอน ซึ่งเริ่มการเรียนการสอนในปีการศึกษา ๒๕๖๐ ซึ่งตอนนี้เริ่มแล้ว แล้วจะมีการประเมิน

สุไหงโก-ลก ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยมสังกัดสำนักงานการศึกษาเขต ๑๕ เรื่องการศึกษา ให้เขาพัฒนาเขาเอง แต่ว่าให้เค้าสอนเรื่องการรักรุ่นพี่ สอนวิชากรีดยางด้วย ให้เด็กมัธยมกรีดยางเป็น ให้เด็กมัธยมสามารถไปเก็บผลไม้ได้ ขออนุญาตแลกเปลี่ยนความรู้ เรื่องการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง เรื่องการศึกษาดีเนี่ย พอไปดูรายละเอียดมันเป็นการเรียนรู้เชิงไหน มันมีอยู่ ๒ ประเภท ในระบบกับนอกระบบ ขณะนี้เราตั้งสังคมการเรียนรู้ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ามาเพื่อนำไปสู่นวัตกรรมตัวใหม่ แล้วทีนี้พอมาถึงตรงนี้เราก็ยังใช้ของเดิม มีอาชีพ มีอะไรงี้ มันมีสำนักงานที่ทำอย่างที่ท่านต้องการว่า คนทำงานเนี่ยมันมีการพัฒนาเพื่อส่งออก มันมีสถาบันตรงนี้อยู่ ถ้าคุณขึ้นตรงกับเค้า มันก็จะได้รับการสนับสนุนมา

แล้วก็อีกเรื่องนึง เรื่องดิน น้ำ ลม ไฟตามศาสตร์พระราชามันเป็นเรื่องกระบวนการเรียนรู้ แต่ไม่ใช่กลับไปสู่สิ่งแวดล้อม ต้องแยกให้ออกว่าสิ่งแวดล้อมจากป่าเขา แต่ดินน้ำลมไฟเนี่ยเป็นศาสตร์พระราชา ซึ่งมันจะเกี่ยวเนื่องไปยังพลังงาน มันต้องกลับมาแตกประเด็นตรงนี้ใหม่ ซึ่งทางรัฐบาลก็มีตรงนี้อยู่ เรื่องศาสตร์พระราชาก็จะเข้ามาตรงนี้ได้


ทีนี้ผมถามนิดนึง ว่าตรงนี้การปกครองของพื้นที่ได้เข้ามาประสานกันรึเปล่า อบต.ตรงนี้ที่เกิดขึ้นถึงท่านนายกได้เข้าในสภา นายกรัฐมนตรีท่านเป็นประธานอยู่ในพื้นที่ เมื่อกี้ได้พูดว่าอยากให้มีกฏหมายพิเศษมันต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบ มันจะมีแหล่งทุนซึ่งเข้ามาเสริม ซึ่งขณะนี้อบต.ยังไม่ได้ทำอะไรต่าง ๆ ซึ่งเชื่อมโยงกับเกาะกง มันคือพื้นที่เดียวกัน เพราะงบประมาณส่วนหนึ่งก็จะเข้ามาในตรงนั้นด้วย ถ้าเราใช้เงินตามงบประมาณปกติที่เราขอไป เราก็จะต้องรอ แต่โครงการนี้ดีมากเท่าที่ดูมา แต่มันจะไม่มีตัวเสริมซึ่งเป็นทุนนอกเพิ่มเข้ามาเป็นตัวพิเศษ สำหรับพื้นทีพิเศษ จะเป็นจุดเด่นของโครงการ ลองหารือดู เพราะถ้าเป็นตรงนี้ปั๊บมันจะมีกฏหมายที่บอกให้ทำอะไร


Tuesday, September 5, 2017

ล่องใต้สู่เมืองนรา เสวนาสถานการณ์จังหวัดชายแดนใต้


ภาคภูมิ น้อยวัฒน์...เรื่องและภาพ
ตีพิมพ์ครั้งแรกในรายงานพิเศษ อนุสาร อ.ส.ท. ฉบับเดือนตุลาคม ๒๕๖๐ 

  กรมประชาสัมพันธ์จัดทัศนศึกษานำคณะสื่อมวลชนจากหลากหลายสาขาเดินทางสู่จังหวัดนราธิวาสเพื่อร่วมการเสวนา "สร้างความเข้าใจ นโยบายการแก้ไขปัญหา และสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้" ที่จังหวัดนราธิวาส  ระหว่างวันที่ ๙-๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา


  ในวันแรกเป็นการรับฟังการเสวนาในหัวข้อ "สร้างความเข้าใจ นโยบายการแก้ไขปัญหา และสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้” ที่ห้องนราทัศน์ ๒ โรงแรมอิมพีเรียล อำเภอเมือง ฯ  จังหวัดนราธิวาส  โดยนางอรวิน บุตรวงศ์ ผู้อำนวยการส่วนการประชาสัมพันธ์ สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ กล่าวต้อนรับคณะสื่อมวลชน  ก่อนที่จะเริ่มการเสวนาโดยวิทยากรได้แก่นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. พันเอก ยุทธนาม เพชรม่วง หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔ ส่วนหน้า และนายอาหะมะ ลีเฮ็ง คณะทำงานเครือข่ายการแก้ไขปัญหาที่ดินบูโด-สุไหงปาดี โดยมีนางสุนิสา รามแก้วทำหน้าที่พิธีกรในการเสวนา

 การเสวนาครั้งนี้ทำให้สื่อมวลชนผู้เข้าร่วมโครงการ ฯ ได้รับทราบนโยบายการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้  ข้อมูลข่าวสาร ข้อเท็จจริง ประเด็นต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ รวมทั้งประสบการณ์จริงจากการลงสังเกตการณ์ในพื้นที่ นำไปเผยแพร่ให้ประชาชนได้รับทราบและเข้าใจสถานการณ์ที่แท้จริง    




วันต่อมาเป็นการทัศนศึกษาเยี่ยมชมพื้นที่  เริ่มจากศูนย์การเรียนรู้ กองพันทหารราบที่ ๑๕๑ ค่ายกัลยาณิวัฒนา อำเภอเมือง ฯ  ที่ภายในอาณาเขตมีป่าพรุ ที่เต็มไปด้วยต้นกระจูดขนาดใหญ่จำนวนมากให้กลุ่มวิสาหกิจแม่บ้านกองพลทหารราบที่ ๑๕ ใช้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ  นานาชนิด เช่น พวงกุญแจ กระเป๋าถือชนิดต่าง ๆ ทั้งยังพัฒนาการออกแบบขึ้นไปให้หลากหลายยิ่งขึ้น


 แวะเข้าไปที่อำเภอตากใบ ดินแดนใต้สุดของแดนสยาม เยี่ยมชมวัดชลธาราสิงเหที่มีสถาปัตยกรรมอันงดงาม ได้สมญานาม “วัดพิทักษ์แผ่นดินไทย” เนื่องจากในประวัติศาสตร์ วัดแห่งนี้เคยช่วยให้ ๔ อำเภอของนราธิวาสรอดจากการถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในอาณานิคมของอังกฤษ  ก่อนจะเข้าฟังบรรยายสรุป “โครงการเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” จากนายปรีชา นวลน้อย นายอำเภอ ที่อำเภอสุไหงโกลก


คณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมด่านพรมแดนสุไหงโกลกที่มีชาวมาเลเซียเดินทางผ่านแดนเข้ามาท่องเที่ยวและซื้อหาสินค้าเป็นจำนวนมากมายในแต่ละวัน  เนื่องจากมีสถานีรถไฟใต้สุดของประเทศไทยที่เชื่อมไปยังมาเลเซียได้ด้วย จึงเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าชายแดนระหว่างประเทศที่สำคัญ



 ทางอำเภอสุไหงโกลกยังมีการส่งเสริมหลากหลายอาชีพให้กับคนในท้องถิ่นด้วย ผลิตภัณฑ์ผ้าปาเต๊ะ ของชุมชนบาโงเป๊าะเล็ง มีการผลิตเป็นล่ำเป็นสัน ตั้งเป็นอุทยานผ้าปาเต๊ะ วิสาหกิจของชุมชน นอกจากนี้ยังมีศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ และศูนย์ฝึกอาชีพของเทศบาลเมืองสุไหงโกลก ผลิตงานหัตถกรรมจากผ้าหลากหลายชนิดจำหน่าย รวมทั้งวาเลนไทนพันธุ์ไม้ ที่เพาะพันธุ์แคคตัสน้อยใหญ่นานาพันธุ์ส่งจำหน่ายไปทั่วประเทศ



วันสุดท้ายเป็นการเดินทางเข้าสู่ธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ของอำเภอสุคิริน  ลัดเลาะตามทางคดเคี้ยวของขุนเขาและแมกไม้เขียวอันหนาทึบเข้าไปในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา พิสูจน์ความมหัศจรรย์ของ “เนินพิศวง” ที่มองดูเหมือนรถไหลขึ้นสู่ที่สูง ก่อนบุกบั่นข้ามธารน้ำตกเข้าไปชม “ต้นกะพงยักษ์” ขนาดมหึมาสูงเยี่ยมเทียมฟ้า  

ปิดท้ายรายการด้วย ชมการร่อนทองตามธรรมชาติ จากสายลำธารที่หลากไหลลงมาเหมืองทองคำในอดีตบนภูเขาโต๊ะโมะ ซึ่งจากการเดินทางทัศนศึกษาในครั้งนี้ทำให้เห็นได้ชัดเจนว่าสถานการณ์ของจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะในจังหวัดนราธิวาสอยู่ในความสงบสุข สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัย


สนใจรายละเอียดเนื้อหาของการเสวนาสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://osotho.blogspot.com/2017/08/